Thursday, May 30, 2013

ภาษาไทย ม.3 บทที่ 1 อะไรๆ ก็ "ไม่เป็นไร"





       
"คำว่า ไม่เป็นรัย นี้แทรกอยู่ในชีวิติประจำวันของคนทุกคน

            ผู้ที่ไม่เคยกล่าวคำนี้ดูเหมือจะไม่มี ผู้ที่กล่าวคำนี้มากๆ ครั้งค    คือผู้ที่มีจิตใจอันผ่องแผ้วและสงบสุข เป็นปรัชญาของคนไทยซื่งมีความสุภาพและชอบให้อภัยผู้อื่น"


ไม่เป็นไร


           ชาวต่างประเทศที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย มักจะรู้จักคำซึ่งเป็นบุคลิกลักษณะของคนไทยคือคำว่า ไม่เป็นไร และแปลความไปในด้านที่ว่าคนไทยเฉื่อยชา ไม่ชอบทำอะไรจริงจัง หรือแม้แต่จะทำอะไรบ้างก็ไม่ใคร่จะเป็นผลสำเร็จ จึงใช้คำว่า ไม่เป็นไร แทนคำแก้ตัว บางคนก็ว่า ไม่เป็นไร ทำให้คนขาดความกระตือรือร้นเพื่อความก้าวหน้า หรือหาช่องทางอื่นที่ดีกว่าเดิม เช่น คนที่ซื้อสลากินแบ่งรัฐบาลาไว้งวดละหลายๆ ใบ เมื่อไม่ถูกรางวัลก็ ไม่เป็นไร ซื้องวดใหม่ต่อไป แทนที่จะคิดนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นทีอาจได้ผลกำไรเป็นการแน่นอน

            บาง คนก็ว่าคำ ไม่เป็นไร เป็นคำกล่าวที่หาความจริงมิได้ เป็นต้นว่า เพื่อนของคุณสารภาพว่า เธอได้ทำน้ำส้มหกราดกระโปรงของคุณเสียแถบหนึ่ง คุณแสนจะเป็นเดือดเป็นแค้น แต่เนื่องจากว่าถึงคุณจะวู่วามไปก็ไม่เป็นผล คุณจึงกล่าวคำ ไม่เป็นไร ทั้งที่ "เป็นไร" อย่างยิ่ง

             อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คำว่า ไม่เป็นไร จะถูกกล่าวหาไปในทางไม่ดี ข้าพเจ้าก็ยังคงมีศรัทธาในคำนี้ และเชื่อว่ามันให้ผลทางจิตใจอยู่ไม่น้อย ไม่เฉพาะแต่ผู้กล่าวแต่รวามทั้งผู้ฟังด้วย หลายครั้งที่เรื่องใหญ่โตระงับลงได้ด้วยคำว่า ไม่เป็นไร และความโกรธแค้น ความเสียดาย ความเศร้าโศก และความพลาดหวัง ค่อยผ่อนคลายลงได้อย่างประหลาดเมื่อได้ยินคำว่า ไม่เป็นไร

             เมื่อคุณขึ้นรถประจำทางในขณะที่คนแน่น คุณบังเอิญเหยียบเท้าคนหนึ่งเข้าโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ถ้าคุณกล่างคำ ขอโทษ แล้วใครคนนั้นบอกว่า ไม่เป็นไรหรอกครับ คุณจะรู้สึกสบายใจขึ้นกว่าการที่ใครคนนั้นไม่พูดอะไรเลย หรือยิ่งกว่านั้นอาจจ้องมองคุณอย่างกับจะกินเลือดกินเนื้อ       

      ในการทำงานอาชีพ ถ้าเพื่อนของคุณซึ่งเข้าทำงานพร้อมๆกันในตำแหน่งอย่างเดียวกัน   เกิดกระโดดสูงข้ามหน้าข้ามตาคุณไป ถ้าคุณเกิดอิจฉาริษยา บอกตัวคุณเองว่า เพื่อนคนนั้นไม่เห็นจะวิเศษตรงไหน ไม่น่าเลยหน้าคุณไปเลยนะนี่ "ฉันจะต้องหาทางปัดแข้งปัดขาให้ตกเก้าอี้ลงมาให้ได้" ตลอดเวลานั้น ถ้าคุณหมกมุ่นหาวิธีต่างๆ นานาที่จะผลักเพื่อนของคุณให้ตกเก้าอี้ คุณไม่มีวันจะสบายใจ จิตใจเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่ช้าคุณก็จะกลายเป็นโรคประสาท แต่ถ้าคุณบอกตัวเองเสียแต่แรกว่า ไม่เป็นไรหรอก คนที่วิ่งไปข้างหน้านั้นมักไม่ได้ชัยชนะในขั้นสุดท้าย ปล่อยคนที่วิ่งเร็วให้วิ่งนำหน้าไปก่อนเถิด ในที่สุดเขาก็จะต้องนั่งลงพักอยู่ข้างทาง ให้คนข้างหลังวิ่งผ่านไปถึงที่หมายก่อน ถ้าคุณคิดได้อย่างนี้ จิตใจก็จะสงบผ่องใส สมองมีโอกาสคิดอ่านเรื่องที่ดีงาม         

             หลายครั้งในชีวิตที่คุณไม่ได้รับสิ่งที่คุณต้องการ คุณพลาดหวังจากสิ่งที่คิดว่าจะได้ คุณปลอบใจตัวเองว่า ไม่เป็นไรหรอก วันหนึ่งข้างหน้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราปรารถนาจะต้องถึงมือแน่ๆ ในที่สุดคุณก็ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา คำว่า ไม่เป็นไร ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของจิตใจได้เป็นอย่างดี        

            ถ้าคุณอยากจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนของคุณ ถ้าเพื่อนคนนั้นพูดว่า ไม่เป็นไรหรอกค่ะ เรื่องเล็กน้อยเท่านี้ คุณจะรู้สึกว่าเป็นคำปลอบประโลมใจได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าความช่วยเหลือนั้นไม่เป็นผลสำเร็จก็ตาม        

              ข้าเจ้าเชื่อเหลือเกินว่า คำว่า ไม่เป็นไร นี้แทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน ผู้ที่ไม่เคยกล่าวคำนี้ดูเหมือนจะไม่มี ผู้ที่กล่าวคำนี้มากๆ ครั้ง คือผู้ที่มีจิตใจอันผ่องแผ้วและสงบสุข เป็นปรัชญาของคนไทยซื่งมีความสุภาพและชอบให้อภัยผู้อื่น


ข้อคิดจากเรื่อง


          เรื่อง ไม่เป็นไร คัดมาจากหนังสื่อชื่อ สุดที่รัก  เป็นหนังสื่อรวมข้อเขียนจากคอลัมน์ของศุทธินีชึ่งเคยพิมพ์ในหนังสื่อ  สยามสมัย "ศุทธินี" เป็นนามปากกาของศาสตราจารย์กิตติคุณสุทธิลักษณ์ อำำพันวงศ์
             ผู้เขียน นำคำว่า ไม่เป็นไร ซึ่งเป็นคำกล่าวที่คนไทยมักพูดกันจนติดปากมาใช้เป็นชื่อเรื่อง และให้ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้คำนี้ในสถานการณ์ต่างๆด้วยมุมมองที่หลากหลาย การใช้คำว่า ไม่เป็นไร ในสังคมไทย มีผลทั้งในทางที่ดีและที่ไม่ดีดังนี้
                                                    
             ผลของการใช้คำว่า ไม่เป็นไร ในทางที่ไม่ดี
                               
                           ทำให้เฉื่อยชา
                           ไม่ทำอะไรจริงจัง
                           ทำงานม่ใคร่เป็นผลสำเร็จ
                           ขาดความกระตือรือร้นที่จะหาช่องทางที่ดีกว่าเดืม
                           เป็นคำพูดที่ไม่จริงจัย

             ผลของการใช้ำว่า ไม่เป็นไร ในทางที่ดี
                           
                           ทำให้เรื่องที่อาจรุนแรงกลายเป็นเรื่องไม่รุนแรง
                           ทำให้ความโกธรแค้น ความเสียด่าย ความเศร้าโศกความพลาดหวังผ่อนคลายลง
                           ทำให้เกดิดความหวังว่าจะมีผู้ชวยเหลือ
                           ทำให้จิตใจสงบ ไม่เร่าร้อนด้วยความริษยา
                           ทำให้รู้จักปล่อยว่าง
                           ทำให้คลายความเครียดเมื่อไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา
                           ทำให้รู้จักห้อภัย ไม่ถือโทษโกธรเคือง แม้ว่าตนเองจะเดือดร้อน

            อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองเห็นว่า คำว่า ไม่เป็นไร เป็นคำที่ดีด้วยเหตุผลว่า ทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังมีจิตใจผ่องแผ้วสงบสุข  เป็นปรัชญาชีวิตของคนไทยซื่งเป็นคนสุภาพและให้อภัยผู้อื่นเสมอ
            คำว่า ไม่เป็นไร  จะมีความหมายเป็นทางบวกหไรือทางลบ ขึ้นอยู่กับนำ้เสียงที่พูดและบริบทที่ใช้ คำว่า ไม่่เป็นไร เมื่อพูดกับตัวเองอาจทำให้จิตใจสงบความโกธรแค้นบรรเทาลง รูัจักปล่อยว่าง เป็นต้น แต่ถ้าทำผิดพลาดแล้วพูดว่าไม่เป็นไร บ่อยๆ ก็เท่ากับว่าละเลยความผิดพลลลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ใส่ใจแก้ไขความผิดพลาดนั้น อาจทำให้ทำผิดพลาดอีก และขาดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ทำให้ไม่มีหลักการและการเป็นคนถ่วงความเจริญของสังคมจึงควรใชัคำว่า ไม่เป็นไร ในทางที่ถูกที่ควร
        โดยเหตุที่คำว่า ไม่เป็นไร มีความมายแปลผันได้หลายอย่าง ทำให้คำว่า ไม่เป็นไร กลายเป็นสำนวนซึ่งต้องตีความให้เข้ากับเรื่องบริบทที่ใช้


ภาษาในการสือสาร


             การสือสารของมนุษย์เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนเองไปสู่ผู้อื่น  โดยผู้ส่งสารใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสือสาร ทำให้ผู้รับสารเข้าจัยเรื่องราว ความคิด ความรู้สึกที่ผู้ส่งสารถ่ายทอดออกมา การรับรู้เรื่องราวร่วมกัน ตรงกัน เข้าจัยกันได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร นับเป็นปัจจัยสำคัญยี่งในการสื่อสาร
           
             การสื่อสารของมนุษย์มีขอบเขตกว้างขวางและมีหลายระดับ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็มีจุดมุ่งหมายร่วมกันเป็นเป้าหมายสำคัญ คือ เข้าจัยความติดและรับรู้เรื่องราวได้ตรงกัน ถูกต้องครบถ้วน และสามารถตอบสนองได้ตรงตามที่ต้องการ


ลักษณะการใช้ภาษาในการสื่อสาร

             
               การใช้ภาษาในการสื่อสารมีทั้งที่เป็นวัจนภาษา และ อวัจนภาษา ดังนี้
         
              วัจนภาษา  หมายถึง ภาษาที่ใช้ถ้อยคำเพื่อสื่อความหมายด้วยเสียงพูดและตัวอักษรให้เป็นไปตามระเบืยบแผนของภาษา เช่น การใช้คำให้ตรงความหมาย การใช้สำนวนให้ข้ากับบริบท การเรียงคำเข้าประโยคให้ถูกต้อง การใช้ศัพท์บัญญัติ การใช้ศัพท์เฉพาะแต่ละสาขา และ การใช้ถ้อยคำสำนวนให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล เวลา และสถานที่
             
               อวัจนภาษา  หมายถึง ภาษาที่ไม่ใช้ถัอยคำ แต่สามารถสื่อความหมายได้ เช่น ก่รแสดงออกทางสีหน้า อากัปกิริยาต่างๆ เช่น ก่รหลับตา กาจ้องตา การจับมือ การแสดงความเครพ การสั้นศรีษะ การแต่กาย การใช้วัตถุสี่งของต่างๆ สื่อความหมายและนำ้เสียง


ปัจจัยในการใช้ภาษาในการสื่อสาร


               การสื่อสารของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งใช้การพูด และ การเขียนเพื่อสื่อสาร การฟัง การอ่าน และ การดูเพื่อรับสาร การส่งสารและการรับสารให้ประสบผลดี ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
  • การตั้งประเด็นในการสื่อสาร     การตั้งประเด็นในการสื่อสารมีความสำคัญยิ่ง การตั้งประเด็นใด หัวข้อใด ต้องพูดให้ตรงประเด็นที่ตั้งไว้ ประเด็นต้องชัดเจน สามารถสื่อความคิดตรงตามที่ผู้ส่งสารตั้งประเด็นไว้
  • จุดมุ่งหมายในการสื่อสาร เมื่อตั้งประเด็นในการสื่อสารแล้ว ก็ต้องระบุจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน ประเด็นดังกล่าวนั้นต้องการสื่อสารไปในแนวทางใด ทิศทางใด สื่อสารกับใคร เรื่องใด ผลลัพธ์อย่างไร
  • สารที่ต้องการสื่อ สารประกอบด้วยภาษาที่เป็นเรื่องราวให้เกิดการรับรู้ ลักษณะสำคัญที่จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆดังนี้
        ความชัดเจน ความชัดเจนของสารเป็นหัวใจของการสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน สารจะได้ ต้องเริ่มจากความคิดของผู้ส่งสารต้องชัดเจนก่อนและยังต้งมีทักษะทางกางใช้ภาษาควบคู่กันไปด้วย รู้ว่าเนื้อหาของสารใดควรใช้ภาษาระดับใด นอกจากนั้นอาจใช้อวัจนภาษาเข้ามาช่วย เพื่ิเพิ่มพลังให้แก่ถ้อยคำให้ชัดเจนและน่าสนใจยิ่งขึ้น

        ความเข้าใจง่าย ความข้าใจง่ายของสารจะเน้นเรื่องการใช้คำศัพท์แปลงๆ คำศัพท์ยาก คำที่มีความหมายกำกวม ตีความหมายได้หลายความหมายอาจทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจผิดกันได้ 
         
          ความถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา ผู้ส่งสารตั้งรู้จักกฎเกณฑ์ของภาษาที่ต้องการสื่อสาร เช่น ความหมายของคำ หลักและโครงสร้างของภาษา การผูกประโยค
         
         นอกจากนั้น ความมีพลังของภาษา ยังสามารถนำมากระตุ้น ปปลุกใจชักชวน หรือระงับยับยั้งเพื่อทำให้ผู้สื่อสารเกิดความคิดและอารมณ์ไปตามที่ผู้ส่งสารต้องการ ดังนั้น ผู้ส่งสารจิงต้องคิดทั้งก่อนพูดและก่อนเขียน ต้องรู้จัเลือกถ้อยคำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ้งอาจใช้อวัจนภาษาเข้ามาชวยเสริมวัจนภาษาเพื่อเพิ่มพลังให้แก่ถ้อยคำอีกด้วย


  • การใช้เสียง สายตา ท่าทาง การใช้เสียงของผู้ส่งสารพึงระวังการออกเสียงถ้อยคำในการพูดให้ถูกต้อง ชัดเจน ขณะเดียวกันก็ต้องระวังการใช้นำ้เสียง จังหวะ การเน้นเสียง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และโอกาศ เพื่อให้สื่อถึงความรู้สึก และให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้


    เรื่อง ไม่เป็นไร ผู้ส่งสารไม่ว่าจะเป็นการส่งด้วยการพูดหรือการเขียนสู่ผู้ร้บสารทั้งการฟัง การดู หรือการอ่านโดยวัจนาภาษาและอวัจนาภาษา

        เมื่อผู้ส่งสารตั้งประเด็นว่า อะไรๆ ก็ ไม่เป็นไร  แล้วก็ตั้งจุดมุ้งหมายเพื่อสะท้อนความคิดของผู้ส่งสารว่า   อะไรๆ ก็ ไม่เป็นไร นั้นมีทั้งทางดีและไม่ดี ให้แยกเยอะประเด็นย่อยๆ ในเรื่องให้ชัดเจน ครบถ้วน เปรียบเทียบหาเห็ตุผล หาข้อเท็จจริงและข้อคิด ต่อจากนั้นจึงเพิ่มเติมจากประสบกาณ์ นำมาสร้างเป็นสถานะการใหม่ๆขึ้นอีก เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจยิ่งขี้น โดยใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย ถูกต้องตามหลักภาษา มีพลัง มีชีวิตชีวา มีคำบรรยาย นำ้เสียง สายตากิริยาท่าทางซึ้งเป็นอวัยนภาษาควบคู่ด้วยเพื่อให้การสื่อสารเกืดสัม ฤทธิ์ผล  









No comments:

Post a Comment