Thursday, December 5, 2013

108 มงคล พระบรมโชวาท



                ๑.พอเพียง คือ อยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่เบียดเบียนใคร
...คำว่า พอเพียง มีความหมายว่า พอกิน เศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง หมายความว่าสองขาของเรายืนอยู่บนพื้นได้ไม่หกล้มไม่ต้องขอยืมของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่
..คำว่า พอ คนเราถ้าพอในความต้องการมันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูก็ได้ แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น...

           ๒. การประหยัด คือหลักประกันของชีวิต
...การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดี ไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้นยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย..

          ๑0. เอื้อเฟื้อมุ่งดีต่อกัน สังคมก็จะร่มเย็นและน่าอยู่
        ...สังคมใดก็ตาม ถ้ามีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ด้วยความมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ
มีความร่มเย็นเป็นสุข น่าอยู่..

            ๑๔.การพูดจริงทำจริง ย่อมได้รับการ ยกย่องสรรเสริญ
...ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ และความยกย่อง สรรเสริญจากคนทุกฝ่าย
   การพูดแล้วทำคือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด..

       ๑๘.ถ้าจิตใจแข็งแกร่ง แม้พบอุปสรรค ก็มีแตทำให้จิตใจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
...ถ้าถูกแดด ถูกฝน อนามัยแข็งแรงก็ไม่เป็นอะไร ทำให้แข็งแกร่ง จิตใจก็เหมือนกัน เมื่อพบอุปสรรคและสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เราก็ขุ่นหมอง แต่ถ้าจิตใจเราแข็งแรง แข็งแกร่งดี อุปสรรคนั้นจะทำให้สามารถที่จะทำให้มีอำนาจจิตดีขึ้น มีกำลังมากขึ้น
สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่ทำให้เราขุ่นเคืองใจ ไม่เป็นผลร้ายต่อตัวเรา กลับทำให้ใจเราแข็งแกร่ง แข็งแรง...




Sunday, November 17, 2013

การทอดกฐิน


                                        การทอดกฐิน 



เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนอย่างหนึ่ง นิยมทำกันตั้งแต่วันแรมค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปจนถึงกลางเดือนสิบสอง
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผ้ากฐิน โดยความหมายก็คือผ้าสำเร็จรูปโดยอาศัยไม้สะดึง นิยมเรียกกันจนปัจจุบันนี้

การทอดกฐิน คือ การนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำห้ารูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย จากคณะสงฆ์ทั้งนั้นเป็นเอกฉันท์ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

เขตกำหนดทอดกฐิน
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน
แต่มีข้อยกเว้นพิเศษว่า ถ้าทายกผู้จะทอดกฐินนั้น มีกิจจำเป็น เช่นจะต้องไปในทัพ ไม่สามารถจะอยู่ทอดกฐินตามกำหนดนั้นได้ จะทอดกฐินก่อนกำหนดดังกล่าวแล้วพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงอนุญาตให้ภิกษะรับไว้ก่อนได้
การที่มีประเพณีทอดกฐินมีเรื่องว่า ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุชาวปาไถยรัฐ (ปาวา) ผู้ทรงธุดงค์ จำนวน ๓๐ รูป เดินทางไกลไปไม่ทันเข้าพรรษา เหลือทางอีกหกโยชน์จะถึงนครสาวัตถี จึงตกลงพักจำพรรษาที่เมืองสาเกตตลอดไตรมาส เมื่อออกพรรษาจึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เชตวันมหาวิหารนครสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นมีจีวรเก่า เปื้อนโคลน และเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน ได้รับความลำบากตรากตรำมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเป็นมูลเหตุ ทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุที่จำพรรษาครบสามเดือนกรานกฐินได้ และให้ได้รับอานิสงส์ ห้าประการคือ 
     ๑) เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา 
     ๒) ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบ 
     ๓) ฉันคณะโภชน์ได้ 
     ๔) ทรงอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา 
     ๕) จีวรอันเกิดขึ้นนั้นจะได้แก่พวกเธอ และได้ขยายเขตอานิสงส์ห้าอีกสี่เดือน นับแต่กรานกฐินแล้วจนถึงวันกฐินเดาะเรียกว่า มาติกาแปด คือการกำหนดวันสิ้นสุดที่จะได้จีวร คือ กำหนดด้วยหลีกไป กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ กำหนดด้วยตกลงใจ กำหนดด้วยผ้าเสียหาย กำหนดด้วยได้ยินข่าว กำหนดด้วยสิ้นหวัง กำหนดด้วยล่วงเขต กำหนดด้วยเดาะพร้อมกัน
ฉะนั้น เมื่อครบวันกำหนดกฐินเดาะแล้ว ภิกษุก็หมดสิทธิ์ต้องรักษาวินัยต่อไป พระสงฆ์จึงรับผ้ากฐินหลังออกพรรษาไปแล้ว หนึ่งเดือนได้ จึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
การทอดกฐินในปัจจุบัน ถือว่าเป็นทานพิเศษ กำหนดเวลาปีหนึ่งทอดถวายได้เพียงครั้งเดียว ตามอรรถกถาฎีกาต่าง ๆ พอกำหนดได้ว่าชนิดของกฐินมีสองลักษณะ คือ

จุลกฐิน การทำจีวร พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้เสร็จภายในกำหนดหนึ่งวัน ทำฝ้าย ปั่น กรอ ตัด เย็บ ย้อม ทำให้เป็นขันธ์ได้ขนาดตามพระวินัย แล้วทอดถวายให้เสร็จในวันนั้น

มหากฐิน คืออาศัยปัจจัยไทยทานบริวารเครื่องกฐินจำนวนมากไม่รีบด่วน เพื่อจะได้มีส่วนหนึ่งเป็นทุนบำรุงวัด คือทำนวกรรมบ้าง ซ่อมแซมบูรณของเก่าบ้าง ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่า กฐินสามัคคี
การทอดกฐินในเมืองไทย แบ่งออกตามประเภทของวัดที่จะไปทอด คือพระอารามหลวง ผ้าพระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้า ฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ไปพระราชทาน เครื่องกฐินทานนี้จัดด้วยพระราชทรัพย์ของพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง บางทีก็เสด็จไปพระราชทานยังวัดราษฎร์ด้วย นิยมเรียกว่า กฐินต้น ผ้ากฐินทานนอกจากที่ได้รับกฐินของหลวงโดยตรงแล้ว พระอารามหลวงอื่น ๆ จะได้รับ กฐินพระราชทาน ซึ่งโปรดเกล้า ฯ พระราชทานผ้ากฐินทาน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หรือเอกชนให้ไปทอด โดยรัฐบาลโดยกรมศาสนาจัดผ้าพระกฐินทาน และเครื่องกฐินถวายไป ผู้ได้รับพระราชทานอาจจะถวายจตุปัจจัย หรือเงินทำบุญที่วัดนั้นโดยเสด็จในกฐินพระราชทานได้
ส่วนวัดราษฎร์ทั่วไป คณะบุคคลจะไปทอดโดยการจองล่วงหน้าไว้ก่อนตั้งแต่ในพรรษา ก่อนจะเข้าเทศกาลกฐินถ้าวัดใดไม่มีผู้จอง เมื่อใกล้เทศกาลกฐิน ประชาชนทายกทายิกาของวัดนั้น ก็จะรวบรวมกันจัดการทอดกฐิน ณ วัดนั้นในเทศกาลกฐิน

การจองกฐิน 
วัดราษฎร์ทั่วไป นิยมทำเป็นหนังสือจองกฐินไปติดต่อประกาศไว้ยังวัดที่จะทอดถวาย เป็นการเผดียงสงฆ์ให้ทราบวันเวลาที่จะไปทอด หรือจะไปนมัสการเจ้าอาวาสให้ทราบไว้ก็ได้
   สำหรับการขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอด ณ พระอารามหลวงให้แจ้งกรมการศาสนา เพื่อขึ้นบัญชีไว้กราบบังคมทูลและแจ้งให้วัดทราบ ในทางปฏิบัติผู้ขอพระราชทานจะไปติดต่อกับทางวัดในรายละเอียดต่าง ๆ จนก่อนถึงวันกำหนดวันทอด จึงมารับผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินพระราชทานจากกรมศาสนา
การนำกฐินไปทอด 

    ทำได้สองอย่าง อย่างหนึ่งคือนำผ้ากฐินทานกับเครื่องบริวารที่จะถวายไปตั้งไว้ ณ วัดที่จะทอดก่อน พอถึงวันกำหนดเจ้าภาพผู้เป็นเจ้าของกฐิน หรือรับพระราชทานผ้ากฐินทานมาจึงพากันไปยังวัดเพื่อทำพิธีถวาย อีกอย่างหนึ่ง ตามคติที่ถือว่าการทอดกฐินเป็นการถวายทานพิเศษแก่พระสงฆ์ที่ได้จำพรรษาครบไตรมาส นับว่าได้กุศลแรง จึงได้มีการฉลองกฐินก่อนนำไปวัดเป็นงานใหญ่ มีการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้านของผู้เป็นเจ้าของกฐิน และเลี้ยงผู้คน มีมหรสพสมโภช และบางงานอาจมีการรวบรวมปัจจัยไปวัดถวายพระอีกด้วยเช่น ในกรณีกฐินสามัคคี พอถึงกำหนดวันทอดก็จะมีการแห่แหนเป็นกระบวนไปยังวัดที่จะทอด มีเครื่องบรรเลงมีการฟ้อนรำนำขบวนตามประเพณีนิยม

การถวายกฐิน
   นิยมถวายในโบสถ์ โดยเฉพาะกฐินพระราชทาน ก่อนจะถึงกำหนดเวลาจะเอาเครื่องบริวารกฐินไปจัดตั้งไว้ในโบสถ์ก่อน ส่วนผ้ากฐินพระราชทานจะยังไม่นำเข้าไป พอถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ที่จะรับกฐิน จะลงโบสถ์พร้อมกัน นั่งบนอาสนที่จัดไว้ เจ้าภาพของกฐิน พร้อมด้วยผู้ร่วมงานจะพากันไปยังโบสถ์ เมื่อถึงหน้าโบสถ์เจ้าหน้าที่จะนำผ้าพระกฐินไปรอส่งให้ประธาน ประธานรับผ้าพระกฐินวางบนมือถือประคอง นำคณะเดินเข้าสู่โบสถ์ แล้วนำผ้าพระกฐินไปวางบนพานที่จัดไว้หน้าพระสงฆ์ และหน้าพระประธานในโบสถ์ คณะที่ตามมาเข้านั่งที่ ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบพระพุทธรูปประธานในโบสถ์แบบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกมายกผ้าพระกฐินในพานขึ้น ดึงผ้าห่มพระประธานมอบให้เจ้าหน้าที่ รับไปห่มพระประธานทีหลัง แล้วประนมมือวางผ้าพระกฐินบนมือทั้งสอง หันหน้าตรงพระสงฆ์แล้วกล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน จบแล้วพระสงฆ์รับ สาธุการ ประธานวางผ้าพระกฐินลงบนพานเช่นเดิม แล้วกลับเข้านั่งที่ ต่อจากนี้ไปเป็นพิธีกรานกฐินของพระสงฆ์
กฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี หรือในวัดบางวัดนิยมถวายกันที่ศาลาการเปรียญ หรือวิหารสำหรับทำบุญ แล้วเจ้าหน้าที่จึงนำผ้ากฐินที่ถวายแล้วไปถวายพระสงฆ์ ทำพิธีกรานกฐินในโบสถ์เฉพาะพระสงฆ์อีกทีหนึ่ง
การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทาน ทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

คำถวายกฐิน 
มีอยู่สองแบบด้วยกันคือ แบบเก่า และแบบใหม่ ดังนี้

คำถวายแบบมหานิกาย
   อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (กล่าวสามหน) 
   ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน พร้อมกับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ (กล่าวสามหน)

คำกล่าวแบบธรรมยุต
     อิมํ มยํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ ปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ฑีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย 
     ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับของบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน พร้อมกับของบริวารของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้งรับแล้วจงกราลกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ 

เทศกาลลอยกระทง


เทศกาลลอยกระทง


เทศกาลลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี หรืออยู่ในราว
เดือนพฤศจิกายนถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของ
ประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง 
ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการ
ลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระ
พุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศ
อินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทง
ได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง 
หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้

1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
2.
การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
3.
การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
4.
การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
5.
การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
6.
การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
7.
การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล
      ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่
กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ 
ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน 
เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธี
จองเปรียงชักโคม ลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร 
พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชา
พระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท 
ณ หาดทรายแม่น้ำนัมฆทานที ประเทศอินเดีย
       การลอยกระทงตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทง
รูปดอกบัว และรูปต่างๆถวายพระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ 
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ 
ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน  12  ให้ทำโคมลอย  เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชา
พระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่
และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า 
"
ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรงพระบรม
วงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง
ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอกทำประกวด
ประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้างวิจิตรไปด้วยเครื่องสด
คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20  ชั่งบ้าง 
ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง" ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปี
ที่สำคัญ โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง
และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยัง
นิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้
โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุดที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้
ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคมบนท้องฟ้าพร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาว
สวยงามมากทีเดียว

ประวัติการลอยกระทงในประเทศไทย 

       การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือ ลอยโคม 
เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของ
พระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคม
ในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำ
สายหนึ่งอยู่ในแค้วนทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา


คุณค่าและความสำคัญ
ลอย กระทงเป็นประเพณีที่สำคัญอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งมีการปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น เพื่อให้ความเคารพ และขอบคุณน้ำที่อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งเป็นการขอขมาน้ำที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์หรือ ทำความเสียหายแก่น้ำ เช่น ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงน้ำ หรือลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ซึ่งประเพณีลอยกระทงก่อให้เกิดคุณค่าและความ สำคัญ ดังนี้ 
1.
คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การประดิษฐ์กระทงไปลอยเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ให้คุณประโยชน์ แก่เรา
2.
คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน
3.
คุณค่าต่อสังคม ทำให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการ ช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำ ลำคลองและแหล่งน้ำต่าง ๆ
4.
คุณค่าต่อศาสนา เป็นการช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยแต่โบราณ 
"เพลง รำวงวันลอยกระทง"

วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ



ที่มา
http://www.paknam.com/thai/loy-krathong-song.html#ixzz2knOecL3n
https://www.google.com



Wednesday, August 14, 2013

บทที่๙ กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

ภาษาไทย ม.3 บทที่9 กรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี 

 ย้อน กลับไปครั้งกรุงเทพฯยังเรียกกันว่าบางกอก เปิดเมืองค้าขายกับชาวต่างชาติ พวกยุโรปเข้ามามีบทบาทในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสยามเป็นอย่างมาก ภาพพจน์ของประเทศสยามในสายตาของชาวต่างชาติในยุคนั้น จะเป็นอย่างไร ลองไปดูภาพกัน ภาพ พระบรมมหาราชวัง บริเวณท่ามหาราช เป็นมุมมองที่เด่นที่สุดมาถึงปัจจุบัน แต่สมัยก่อนมีเรือแจว เรือพายเยอะหน่อย แต่ปัจจุบันสูญหายไปทั้งเรือ ทั้งแพ ไม่ใช่จากการใช้งานที่ไม่สะดวกหลอกครับ สาเหตุหนึ่งจากเรือหางยาวนี่แหละ เพราะเรือหางยาววิ่งเร็ว เกิดคลื่นกระทบแรง เรือไม่มีเครื่องก็จะโคลงมาก แพก็จะโดนคลื่นซัดเสียหาย จึงไม่นิยมใช้และสูญหายไปในที่สุด หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ ลีลลูสตราซียง (L' Illustration) ได้ นำเสนอเรื่องราวของประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นสารคดีประกอบภาพลายเส้น เล่าเรื่องราวสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมประเพณีไทย ในสมัยนั้น โดยบุคคลหรือนักหนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นคือนายฟูร์เนอโร (Monsieur Fournereau) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัยศิลปะ L' Ecole des Beaux-Arts ฟู ร์เนอโร ได้เข้ามาศึกษาสภาพสังคมและอารยะธรรมของสยามประเทศอยู่ด้วยกันหลายครั้ง และเขาก็ต้องตื่นตะลึงกับพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่พิธีหนึ่ง นั่นคือ พระราชพิธีปลงพระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของวันที่ ๙ ถึง ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๑ โดยมีขบวนเกียรติยศ และประชาชนเข้าร่วมในพระราชพิธีนี้อย่างล้นหลาม และพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพ ณ พระเมรุมาศ ก็จัดได้สมพระเกียรติมาก สภาพเรือนแพริมน้ำทั่วไป ใน ปีพ.ศ.๑๔๓๔ ฟูร์เนอโร ได้เดินทางเข้ามากระเทศสยามอีกครั้ง เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย เขาได้เก็บข้อมูลอย่างละเอียด โดยวาดภาพและถ่ายภาพคนไทย และศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น เขาสนใจกับพระปรางค์วัดแจ้งเป็นอย่างมาก ด้วยความสูงตระหง่านงดงาม และมีชื่อเสียงเลื่องลือไปในแดนไกล (สมัยนั้น สิ่งก่อสร้างที่สูงขนาดนี้ก็จัดได้ว่าเป็นตึกระฟ้า ได้ทีเดียว) นอกจากนี้เขายังศึกษาเรื่องศาสนาและราชอาณาจักรสยามโบราณเป็นพิเศษ เรือเดินทะเลของฝรั่งเศสชื่อ ลูแตง จอดอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส ที่ติดกับโรงแรมโอเรียนเตลในปัจจุบัน ใน ปีพ.ศ.๒๔๓๖ หนังสือพิมพ์ ลีลลูสตราซียง ได้ตีพิมพ์เรื่องราวของประเทศสยามว่า มีบางกอกเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของพระราชวังของพระมหากษัตริย์ไทย เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การค้า และศาสนา บางกอกมีประชากรประมาณ 500,000 คน เป็นเมืองที่สกปรก มีขยะและกลิ่นเหม็น ซึ่งจะพบได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินหรือแม่น้ำลำคลอง (นี่ แสดงว่านิสัยมักง่ายของคนไทยนั้นมีมานานแล้วนะ อายเขาไหมล่ะ ) สำหรับทัศนียภาพที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแม่น้ำลำคลอง ก็มียวดยานพาหนะทางน้ำเช่น เรือกำปั่น เรือพายเป็นต้น และเรือนแพสำหรับค้าขายและพักอาศัยก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนบริเวณถนนเจริญกรุง ช่วงบางคอแหลม ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบางกอก ก็มีบ้านเรือนขนาดเล็กเรียงรายอยู่ทั่วไป ขบวนแห่พระศพของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในพิธีปลงพระศพ มีขบวนเกียรติยศและประชาชนเข้าร่วมพิธีอย่างล้นหลาม ฟู ร์เนอโร ยังได้รายงานอีกว่า สยามเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา แต่คนไทยก็มีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาอื่นๆได้เช่นกัน นอกจากนี้เขายังได้ไปชมวัดโพธิ์ วัดสุทัศน์ และวัดสระเกศอีกด้วย จึงได้ภาพของการเผาศพที่เกิดจากโรคระบาด ไปนำเสนอ พระเมรุมาศที่ตั้งพระศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นอก จากในบางกอกแล้ว ฟูร์เนอโร ยังได้แสดงความเห็นว่า ต่างจังหวัดก็ยังมีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กรุงเทพฯผ่านกาลเวลามา 100 กว่า ปีก็ย่อมมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาของการพัฒนา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้เปลี่ยนไปและไม่ควรเปลี่ยนไป คือสามัญสำนึกของคนไทย ที่ยังยึดมั่นในความเป็นไทย และซึมซับความเป็นไทยไว้ในสายเลือด เฉกเช่นบรรพบุรุษไทยที่ได้ดำรงมาเนิ่นนาน การทำพิธีเผาศพ ตอนนั้นอีแร้งก็ยังไม่สูญพันธ์ไปจากเมืองไทย ยืนคอยรับประทานอาหารโปรดอยู่เป็นแถว

www.non-m3.blogspot.com เรื่องกรุงเทพฯ เมื่อร้อยกว่าปี

Monday, July 29, 2013

แบบทดสอบภาษไทย ม.3

แบบทดสอบเรื่อง .การอ่านออกเสียงจำนวน 10 ข้อ
วิชาภาษาไทย(รหัส ท23101) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง .การอ่านออกเสียงจำนวน 10 ข้อ
โดย ด.ญ.อรัญญา โพธิ์วัง โรงเรียนผาแดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
ข้อใดไม่ใช้จุดประส่งการอ่านออกเสียง
   ความบันเทิง
   แถลงนโยบาย
   ถ่ายทอดข่าวสาร
   เพื่อข้อความคิดเห็น

ข้อที่ 2)
ข้อใดคือการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง
   กำหนดท่าทาง
   ทดลองออกเสียง
   ทำความเข้าใจเรื่อง
   ศึกษาเจตนของผู้แต่ง

ข้อที่ 3)
เครื่องหมาย / หมายความว่าอย่างไร
   หยุดอ่าน
   หยุดหายใจ
   เว้นวรรคเล็กน้อย
   ให้สังเกตข้อความ

ข้อที่ 4)
ทอดหางเสียง ต้องใช้เครื่องหมายใด
   //
   ……….
   ---------
   *******

ข้อที่ 5)
ข้อใดไม่ใช้ลักษณะของร้อยแก้ว
   บังคับสัมผัส
   ใช้ในชีวิตประจำวัน
   ไพเราะ
   ใช้คำเหมาะสม

ข้อที่ 6)
สิ่งใดสำคัญที่สุดในการอ่านออกเสียง
   มีสมาธิ
   อ่านให้เป็นเสียงพูด
   อ่านให้ดัง
   อ่านให้ถูกอักขรวิธี

ข้อที่ 7)
การใส่อารมณ์ในการอ่านมีผลดีอย่างไร
   ผู้ฟังชื่นชม
   ทำให้น่าสนใจ
   ทำให้ชวนฟังยิ่งขึ้น
   ทำให้ผู้อ่านมีชีวิตชีวา

ข้อที่ 8)
ข้อใดไม่ใช้แนวทางการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
   รู้จักผู้แต่ง
   รู้จักรวบรวมคำ
   รู้จักทำนอง
   รู้จักใส่อารมณ์

ข้อที่ 9)
ข้อใดแบ่งจังหวะไม่ถูกต้อง
   นางเงือกน้ำ/บอกสำคัญว่า/นั้นแล้ว//คือเกาะ/แก้วพิสดาร/เป็นชานเขา
   แลลิบลิบ/หลังคา/ศาลาราย//มีเสาร์หงส์/ธงปลาย/ปลิวระยับ
   พี่มนุษย์/สุดสวาท/เป็นชาติยักษ์//จงคิดหัก/ความสวาท/ให้ขาดสูญ
   อยู่ดีดี/หนีเมีย/มาเสียได้//เสียน้ำใจ/น้องรัก/เป็นหนักหนา

ข้อที่ 10)
ข้อใดแบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง
   มีคน/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการในทีนี้หมายถึง/
   เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้/เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เราสามารถจัดการ/สิ่งต่างๆได้
   เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสารถจัดร่างกายของเราได้
   โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไมได้/รวมทั้งความตาย


Sunday, July 14, 2013


บทที่ 7
รู้ตำนานสืบสานวัฒนธรรม

ก็สมบัติมหาศาล จะมีประโยชน์

เมื่อจ้าของตายลง


เปิงซงกราน

     อดีตกาลนานมาแล้ว นับตั้งต้นภัทรกัป  ยังมีเศรษฐีผู้หนึ่งมั่งคั่งบริบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทอง จะขาดอยู่ก็แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดกมหาศาลนี้เท่านั้น  เศรษฐีก็มิได้รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่ประการใด  คิดเสียว่าสักวันหนึ่งก็คงจะสมปรารถนา
       
 จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดเหตุด้วยนักเลงสุราข้างคฤหาสน์เศรษฐี   นั้นเองคงจะเมาหนักกว่าปรกติ จึงล่วงล้ำเข้าไปถึงในเขตบ้านเท่านเศรษฐี   มีหนำซ้ำยังกล่าวถ้อยคำเป็นเชิงเยาะเย้ยดูหมิ่นเจ้าของบ้านเสียอีก้วย เศรษฐีอดรนทนไม่ได้จึงถามขึ้นว่า
         เจ้านี่ใครกัน อวดดียังไงจึงเข้ามาอาละวาดถึงในบ้านเราไม่รู้รึว่าเราเป็นคหบดีที่ผู้คนนับถือตากันทั้งเมือง  เจ้าล่วงล้ำเข้ามาในบ้านแล้ว ยังมากล่าววาจาจ้วงจาบหยาบช้าเอากับเราถึงเพียงนี้
         นักเลงดีตอบอย่างไม่พรั่นพึงว่า
          ''กะแค่มีสมบัติมากเท่านี้  เราไม่เห็นจะแปลก ท่านร่ำรวยเป็นเศรษฐี ก็ดีอยู่หรอก  แต่อีกหน่อยท่านก้ต้องตายแล้วท่านจะเอาสมบัติพวกนี้้ไปได้หรือเปล่าล่ะ ลูกเต้าที่มาสืบทอดมรดก ทำบุญทำทานไปให้ท่านก็ไม่มีสักคน  แล้วสมบัติของท่านนี่จะมีประโยชน์ เรานี่เสียอีก แม้จะจนแต่แต่เราก็มีลูกชายหน้าตาผิิวพรรณหมดจดงดงามถึง 2 คน  เราตายไปลูกเราก็จะดูแลข้าวของเงินทอง ที่เราทิ้งไว้ ทำบุญส่งไปให้เราได้ ท่านจะมามีดีกว่าเราที่ตรงไหนิ 
           เศรษฐีฟังแล้วถึงแก่อาการอ้ำอึ้งนึกเห็นคล้อยเห็นตามวาจาของนักเลงสุราฝีปากดี  ก็สมบัติมหาศาลนั้นจะมีประโยชน์อันใดเมื่อเจ้าของตายลง  คิดแล้วเศรษฐีก็ร้อนรุ่มกลุ้ลใจมาขึ้นมาทันที  ที่เคยไม่สนใจเรื่่ิองทายาทสืบตระกูล ก็ชักจะกระวนกระวายหนักถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ครุนคิดแต่จะหาทางมีลูกมารับมรดกตกทอดเมื่อตัวตาย
             เมื่อได้ลูกชายสมความปรารถนา  เศรษฐีก็ชื่นชมโสมนัสยิ่งนักถึงกับปลูปราสาท ๗ ชั้นให้ลูกชายเศรษฐีมีชื่อว่า  ธรรมบาลกุมารปราสาทนั้นก็อยู่ใกล้ๆ  ต้นไทรริมน้ำนั้นเอง คงด้วยเห็นว่าบุตรที่ได้มานี้เป็นเพราะพระไทรประทานให้
       เนื่องจากปราสาทของธรรมบาลกุมารอยู่ติดกับต้นไทร ธรรมบาลก็เลยพลอยได้ใกล้ชิดกับบรรดาฝูงนกที่มาเกาะมากินผลไทร จนถึงกับรู้ภาษานกในที่สุด และนอกจากภาษานกแล้วธรรมบาลก็ยังได้ร่ำเรียนไตรเพท หรือพระเวททั้งสามอันเป็นวิชาความรู้สูงในสมัยนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่ออายุเพียง ๗ ขวบ  และกลายเป็นผู้มีความสามารถบอกฤกษ์ยาม และอธิบายข้อปัญหาขัดข้องแก่ชนทั้งหลายได้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งยิ่งนัก
         ในชมพูทวีปสมัยนั้น ผู้คนล้วนนับถือท้าวมหาพรหมและท้าวบิลพรหม ซึ่งเป็นผู้บอกมงคลแก่มนุษย์  เมื่อธรรมบาลมาตั้งตนเป็นอาจารย์บอกมงคลฤกษ์ยามอีกคนหนึ่ง  ท้าวกบิลพรหมใคร่จะทดลองปัญญาของธรรมปาลว่าจะแก่กล้าสักเพียงใด จึงตั้งปัญหา ๓ ข้อให้ธรรมบาลแก้ ถ้าแก้ได้ ท้าวจะตัดเศียรตนบูชาธรรมบาล แต่ถ้าแก้ไม่ได้ ตนก็ต้องตัดเศียรบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน   ปัญหามีว่า
                            เวลาเช้า                         สิริอยู่ที่ไหน
                            เวลากลางวัน                 สิริอยู่ที่ไหน
                           เวลาเย็น                         สิริอยู่ที่ไหน
            ธรรมบาลขอเวลา  ๗  วัน  แต่จนถึงวันสุดท้ายก็คิดไม่ออกโทมนัสกลัวว่ารุ้งขึ้นจะต้องตัดหัวบูชาท้าวกบิลพรหม  ธรรมบาลจึงไปนอนรำพึงรำพันใต้ต้นตาลคู่  ขณะที่นอนอยู่  ก็ได้ยินเสียงนกอินทรีสองผัวเมียคุยกันว่า รุ้งขึ้นจะไปหาอาหารที่ไหน นกตัวผู้บอกว่า  ไม่ต้องกังวล เรื่องหาอาหาร  พรุ่งนี้จะต้องได้กินเนื้อธรรมบาลแน่นอน เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ก็ต้องถูกตัดหัว  นกตัวเมียจึงถามว่าปัญหานั้นว่าอะไร นกตัวผู้ก็บอกให้ แถมเฉลยอีกด้วย  ธรรมบาลเลยพลอยได้ยินข้อเฉลย
            เมื่อถึงกำหนด  ท้าวกบิลพรหมก็มาฟังข้อเฉลย ธรรมบาลกุมารจึงไขว่า
            
            เวลาเช้าสิริอยู่ที่หน้า  ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำลูบหน้าปราศมลทิน  เวลา

กลางวันสิริอยู่ที่อก ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำประพรมอก เวลาเย็นสิริอยู่ที่เท้า ชน


ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าก่อนนอน

            
            ธรรมบาลตอบถูก ท้าวกบิลพรหมต้องตัดหัวตามสัญญา ท้าวจึงเรียก

ธิดาท้ังเจ็ดพร้อมหน้ากันเเล้วสั่งว่า

            
            พ่อต้องถูกตัดหัวตามสัญญา เเต่หัวของพ่อนั้น  ถ้าวางไว้บนพื้นพิภพ 

จะเกิดไฟไหม้ทั้งแผ่นดิน  ถ้าโยนขึ้นในอากาศ ฝนฟ้าจะแล้ง  ถ้าทิ้งใน


มหาสมุทร  น้ำก็จะแห้ง เจ้าจงเอาพานมาคอยรับหัวพ่อนี้เถิด


            เมื่อสั่งเสียเเล้ว ท้าวก็ตัดหัวตนออกบูชาธรรมบาล ธิดาองค์โตนามว่า 


ทุงษะ จึงเอาพานมารองรับหัวพ่อไว้แห่แหนประทักษิณรอบเขาพระสุเมร เเล้ว


จึงนำไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก  แต่นั้นมาเมื่อครบรอบวันสงกรานต์  ธิดา


ทั้งเจ็ด จะผลัดเปลี่ยนเวียนกันนำหัวของเท้ากบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุปี


ละคร้ังสืบมา


     
           ตำนาน
          
    ตำนานหมายถึงเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ปูชนียวัตถุหรือสถานที่สำคัญ ที่มาของประเพณีหรือพิธีกรรม
          ลักษณะตำนานเป็นเรื่องเหนือจริงหรือสัมพันธ์กับความเป็นจริง แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาบรรพชนและความเป็นมาของชนชาติ เช่น
          
         ความเชื่อคตินิยมเรื่องสิริ
          
     สิริหมายถึง มงคล สิ่งที่จะนำความโชคดี ความเจริญและความสุขมาให้ซ้อนกับคำว่ามงคล  ยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องสิริในเวลาเช้าจะอยู่ที่ใบหน้า เวลากลางวันจะอยู่ที่อกและเวลาเย็นจะอยู่ที่เท้า

        ความเชื่อเรื่องมีบุตรชายสืบตระกูล
   
     ความเชื่อของชาวมอญ รับมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์ ฮินดูว่า ถ้ามีบุตรชายจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ตนและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ในสังคมโบราณเป็นสังคมเกษตรก็ต้องการแรงงานผู้ชายมาทำงานรักษาผืนนาและทรัพย์สมบัติอื่นให้ลูกหลานในภายหน้า
           
      ตำนานวันสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ไทย

          ในรอบ ๑ปีจะมี ๒ วัน ซึ่งจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูได้ดีที่สุดคือ วันที่ ๒๑ มี.ค.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนตามลำดับ และวันที่ ๒๒ ก.ย.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวตามลำดับ จึงได้กำหนดให้ปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายนเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับปฏิทินไทยตามคติมอญ
          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามได้ถือเอาวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ตามตะวันตก
          คำว่า สงกรานต์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าก้าวไปพร้อมกันคือวันที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง
          ไทยถือเอาวันที่ ๑๒ ก่อนวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสิ้นปี วันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาเป็นวันที่พระอาทิตย์ประทับในราศีเมษ  วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกขึ้นศักราชใหม่ ศักราชที่เปลี่ยนในช่วงสงกรานต์เราเรียกว่าจุลศักราช
          เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์จะมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย เพราะเชื่อว่าทุกย่างก้าวที่เราออกจากวัดมักจะนำทรายติดเท้าออกนอกวันจึงต้องขนทรายเข้ามาในวัดอีกครั้งหนึ่ง 

ที่มา: http://nirat-m3.blogspot.com เรื่อง รู้ตำนานสืบสารวัฒนธรรม

บทที่ 5 เพลงนี้มีประวัติ

    
                            
                                   เพลงนี้มีประวัติ
                          
                           
                             "โอ้ละน้อ   ดวงเดือนเอย
                     
                        ข้อยมาเว้า        รักเจ้าสาวคำดวง
                 โอ้ดึกเเล้วหนอ    พี่ขอลาล่วง
                       อกพี่เป็นห่วง  รักเจ้าดวงเดือนเอย"
         
เพลงนี้มีประวัติ

              
 เพลง ลาวดวงเดือน อันเเสนไพเราะอ่อนหวานเพลงนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิชัยไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์
                เหตุที่ทำให้ทรงนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนขึ้นมีว่า ราวปี พ.ศ.๒๔๔๖
เมื่อมีพระชันษา ๒๑ ปี พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  ได้เสด็จขึ้นไป
นครเชียงใหม่   ได้พบรักกับเจ้าชมชื่น  ธิดาของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับ
เจ้าคำกล่าวกันว่าเป็นรักครั้งเเรกที่ไม่อาจทรงหักห้ามพระทัยได้
จึงทรงขอให้พระยานริศราชกิจ
                 พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เข้าทรงานในกระทรวงเกษตราธิการ
ทรงรับผิดชอบการเลื้ยงไหม  เป็นเหตุให้ต้องเสด็จไปตรวจเยี่ยมศูนย์
การทำไหมในมณฑลต่าง
                  เพลงนี้ได้รับความนิยมตั้งเเต่เเรก  แต่หลังจากที่พระองค์
    เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะ อันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้ และจะเป็นเพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไป แต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ทราบ

ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕

พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง และยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ พระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาทย์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียกว่า วงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์ เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดี พระองค์หนึ่งด้วย ทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอ พระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมาก เพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวล เห็นภาพพจน์บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ

ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่ อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมณฑลพายัพ ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์ อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด็จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วย ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้อง และพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ ปรากฏว่ามี เจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้า จนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ ด้วยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึง ในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!


ในวันต่อมา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมณฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน

นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่นเป็นยิ่งนัก พระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์

แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนีมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น

เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน

เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย คงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้นถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านาชั้นผู้ใหญ่หลาพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างต่าง นานา 

เป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ

คราใดสายลมเหนือพัดมา... พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น... เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหม ทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษ เพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ว่า

อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร
งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน
ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย



บทร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาส ของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้...

โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย....เอ๋ย..เราละหนอ

โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมน
พี่จะทนทุกข์...ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย
ถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย...เราละหนอ...


นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง คราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย ลาวเจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน

กรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนม์ชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

เพลงลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียว ลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง... พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้าหญิงชมชื่นผู้เลอโฉม และจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน.


ข้อคิดจากเรื่อง


   เรื่องที่อ่านมีข้อคิดหลายประการ  ดังนี้

๑.ความประทับใจซาบซิ่งกับคนรัก  อารมณ์เศร้าว้าเหว่
๒.ผู้ชื่นชมผลงานศิลปะมิได้จำกัดแต่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมเดียว
๓.การนำผลงานที่มีอยู่เดิมมาดัดเเปลงเสริมแต่งทำให้มีผลงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น
๔.การศึกษาชีวประวัติของศิลปินจะทำให้ทราบที่มาของผลงานสิลปะ

ที่มา:http://nawinta-m3.blogspot.com เรื่อง เพลงนี้มีประวัติ