Monday, July 29, 2013

แบบทดสอบภาษไทย ม.3

แบบทดสอบเรื่อง .การอ่านออกเสียงจำนวน 10 ข้อ
วิชาภาษาไทย(รหัส ท23101) ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง .การอ่านออกเสียงจำนวน 10 ข้อ
โดย ด.ญ.อรัญญา โพธิ์วัง โรงเรียนผาแดงวิทยา
คำสั่ง เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

ข้อที่ 1)
ข้อใดไม่ใช้จุดประส่งการอ่านออกเสียง
   ความบันเทิง
   แถลงนโยบาย
   ถ่ายทอดข่าวสาร
   เพื่อข้อความคิดเห็น

ข้อที่ 2)
ข้อใดคือการอ่านออกเสียงที่ถูกต้อง
   กำหนดท่าทาง
   ทดลองออกเสียง
   ทำความเข้าใจเรื่อง
   ศึกษาเจตนของผู้แต่ง

ข้อที่ 3)
เครื่องหมาย / หมายความว่าอย่างไร
   หยุดอ่าน
   หยุดหายใจ
   เว้นวรรคเล็กน้อย
   ให้สังเกตข้อความ

ข้อที่ 4)
ทอดหางเสียง ต้องใช้เครื่องหมายใด
   //
   ……….
   ---------
   *******

ข้อที่ 5)
ข้อใดไม่ใช้ลักษณะของร้อยแก้ว
   บังคับสัมผัส
   ใช้ในชีวิตประจำวัน
   ไพเราะ
   ใช้คำเหมาะสม

ข้อที่ 6)
สิ่งใดสำคัญที่สุดในการอ่านออกเสียง
   มีสมาธิ
   อ่านให้เป็นเสียงพูด
   อ่านให้ดัง
   อ่านให้ถูกอักขรวิธี

ข้อที่ 7)
การใส่อารมณ์ในการอ่านมีผลดีอย่างไร
   ผู้ฟังชื่นชม
   ทำให้น่าสนใจ
   ทำให้ชวนฟังยิ่งขึ้น
   ทำให้ผู้อ่านมีชีวิตชีวา

ข้อที่ 8)
ข้อใดไม่ใช้แนวทางการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
   รู้จักผู้แต่ง
   รู้จักรวบรวมคำ
   รู้จักทำนอง
   รู้จักใส่อารมณ์

ข้อที่ 9)
ข้อใดแบ่งจังหวะไม่ถูกต้อง
   นางเงือกน้ำ/บอกสำคัญว่า/นั้นแล้ว//คือเกาะ/แก้วพิสดาร/เป็นชานเขา
   แลลิบลิบ/หลังคา/ศาลาราย//มีเสาร์หงส์/ธงปลาย/ปลิวระยับ
   พี่มนุษย์/สุดสวาท/เป็นชาติยักษ์//จงคิดหัก/ความสวาท/ให้ขาดสูญ
   อยู่ดีดี/หนีเมีย/มาเสียได้//เสียน้ำใจ/น้องรัก/เป็นหนักหนา

ข้อที่ 10)
ข้อใดแบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง
   มีคน/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการในทีนี้หมายถึง/
   เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้/เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เราสามารถจัดการ/สิ่งต่างๆได้
   เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสารถจัดร่างกายของเราได้
   โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไมได้/รวมทั้งความตาย


Sunday, July 14, 2013


บทที่ 7
รู้ตำนานสืบสานวัฒนธรรม

ก็สมบัติมหาศาล จะมีประโยชน์

เมื่อจ้าของตายลง


เปิงซงกราน

     อดีตกาลนานมาแล้ว นับตั้งต้นภัทรกัป  ยังมีเศรษฐีผู้หนึ่งมั่งคั่งบริบรูณ์ด้วยทรัพย์สมบัติแก้วแหวนเงินทอง จะขาดอยู่ก็แต่ทายาทที่จะรับสืบทอดมรดกมหาศาลนี้เท่านั้น  เศรษฐีก็มิได้รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจแต่ประการใด  คิดเสียว่าสักวันหนึ่งก็คงจะสมปรารถนา
       
 จนกระทั่งวันหนึ่ง เกิดเหตุด้วยนักเลงสุราข้างคฤหาสน์เศรษฐี   นั้นเองคงจะเมาหนักกว่าปรกติ จึงล่วงล้ำเข้าไปถึงในเขตบ้านเท่านเศรษฐี   มีหนำซ้ำยังกล่าวถ้อยคำเป็นเชิงเยาะเย้ยดูหมิ่นเจ้าของบ้านเสียอีก้วย เศรษฐีอดรนทนไม่ได้จึงถามขึ้นว่า
         เจ้านี่ใครกัน อวดดียังไงจึงเข้ามาอาละวาดถึงในบ้านเราไม่รู้รึว่าเราเป็นคหบดีที่ผู้คนนับถือตากันทั้งเมือง  เจ้าล่วงล้ำเข้ามาในบ้านแล้ว ยังมากล่าววาจาจ้วงจาบหยาบช้าเอากับเราถึงเพียงนี้
         นักเลงดีตอบอย่างไม่พรั่นพึงว่า
          ''กะแค่มีสมบัติมากเท่านี้  เราไม่เห็นจะแปลก ท่านร่ำรวยเป็นเศรษฐี ก็ดีอยู่หรอก  แต่อีกหน่อยท่านก้ต้องตายแล้วท่านจะเอาสมบัติพวกนี้้ไปได้หรือเปล่าล่ะ ลูกเต้าที่มาสืบทอดมรดก ทำบุญทำทานไปให้ท่านก็ไม่มีสักคน  แล้วสมบัติของท่านนี่จะมีประโยชน์ เรานี่เสียอีก แม้จะจนแต่แต่เราก็มีลูกชายหน้าตาผิิวพรรณหมดจดงดงามถึง 2 คน  เราตายไปลูกเราก็จะดูแลข้าวของเงินทอง ที่เราทิ้งไว้ ทำบุญส่งไปให้เราได้ ท่านจะมามีดีกว่าเราที่ตรงไหนิ 
           เศรษฐีฟังแล้วถึงแก่อาการอ้ำอึ้งนึกเห็นคล้อยเห็นตามวาจาของนักเลงสุราฝีปากดี  ก็สมบัติมหาศาลนั้นจะมีประโยชน์อันใดเมื่อเจ้าของตายลง  คิดแล้วเศรษฐีก็ร้อนรุ่มกลุ้ลใจมาขึ้นมาทันที  ที่เคยไม่สนใจเรื่่ิองทายาทสืบตระกูล ก็ชักจะกระวนกระวายหนักถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ครุนคิดแต่จะหาทางมีลูกมารับมรดกตกทอดเมื่อตัวตาย
             เมื่อได้ลูกชายสมความปรารถนา  เศรษฐีก็ชื่นชมโสมนัสยิ่งนักถึงกับปลูปราสาท ๗ ชั้นให้ลูกชายเศรษฐีมีชื่อว่า  ธรรมบาลกุมารปราสาทนั้นก็อยู่ใกล้ๆ  ต้นไทรริมน้ำนั้นเอง คงด้วยเห็นว่าบุตรที่ได้มานี้เป็นเพราะพระไทรประทานให้
       เนื่องจากปราสาทของธรรมบาลกุมารอยู่ติดกับต้นไทร ธรรมบาลก็เลยพลอยได้ใกล้ชิดกับบรรดาฝูงนกที่มาเกาะมากินผลไทร จนถึงกับรู้ภาษานกในที่สุด และนอกจากภาษานกแล้วธรรมบาลก็ยังได้ร่ำเรียนไตรเพท หรือพระเวททั้งสามอันเป็นวิชาความรู้สูงในสมัยนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่ออายุเพียง ๗ ขวบ  และกลายเป็นผู้มีความสามารถบอกฤกษ์ยาม และอธิบายข้อปัญหาขัดข้องแก่ชนทั้งหลายได้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งยิ่งนัก
         ในชมพูทวีปสมัยนั้น ผู้คนล้วนนับถือท้าวมหาพรหมและท้าวบิลพรหม ซึ่งเป็นผู้บอกมงคลแก่มนุษย์  เมื่อธรรมบาลมาตั้งตนเป็นอาจารย์บอกมงคลฤกษ์ยามอีกคนหนึ่ง  ท้าวกบิลพรหมใคร่จะทดลองปัญญาของธรรมปาลว่าจะแก่กล้าสักเพียงใด จึงตั้งปัญหา ๓ ข้อให้ธรรมบาลแก้ ถ้าแก้ได้ ท้าวจะตัดเศียรตนบูชาธรรมบาล แต่ถ้าแก้ไม่ได้ ตนก็ต้องตัดเศียรบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน   ปัญหามีว่า
                            เวลาเช้า                         สิริอยู่ที่ไหน
                            เวลากลางวัน                 สิริอยู่ที่ไหน
                           เวลาเย็น                         สิริอยู่ที่ไหน
            ธรรมบาลขอเวลา  ๗  วัน  แต่จนถึงวันสุดท้ายก็คิดไม่ออกโทมนัสกลัวว่ารุ้งขึ้นจะต้องตัดหัวบูชาท้าวกบิลพรหม  ธรรมบาลจึงไปนอนรำพึงรำพันใต้ต้นตาลคู่  ขณะที่นอนอยู่  ก็ได้ยินเสียงนกอินทรีสองผัวเมียคุยกันว่า รุ้งขึ้นจะไปหาอาหารที่ไหน นกตัวผู้บอกว่า  ไม่ต้องกังวล เรื่องหาอาหาร  พรุ่งนี้จะต้องได้กินเนื้อธรรมบาลแน่นอน เมื่อแก้ปัญหาไม่ได้ก็ต้องถูกตัดหัว  นกตัวเมียจึงถามว่าปัญหานั้นว่าอะไร นกตัวผู้ก็บอกให้ แถมเฉลยอีกด้วย  ธรรมบาลเลยพลอยได้ยินข้อเฉลย
            เมื่อถึงกำหนด  ท้าวกบิลพรหมก็มาฟังข้อเฉลย ธรรมบาลกุมารจึงไขว่า
            
            เวลาเช้าสิริอยู่ที่หน้า  ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำลูบหน้าปราศมลทิน  เวลา

กลางวันสิริอยู่ที่อก ชนทั้งหลายจึงเอาน้ำประพรมอก เวลาเย็นสิริอยู่ที่เท้า ชน


ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้าก่อนนอน

            
            ธรรมบาลตอบถูก ท้าวกบิลพรหมต้องตัดหัวตามสัญญา ท้าวจึงเรียก

ธิดาท้ังเจ็ดพร้อมหน้ากันเเล้วสั่งว่า

            
            พ่อต้องถูกตัดหัวตามสัญญา เเต่หัวของพ่อนั้น  ถ้าวางไว้บนพื้นพิภพ 

จะเกิดไฟไหม้ทั้งแผ่นดิน  ถ้าโยนขึ้นในอากาศ ฝนฟ้าจะแล้ง  ถ้าทิ้งใน


มหาสมุทร  น้ำก็จะแห้ง เจ้าจงเอาพานมาคอยรับหัวพ่อนี้เถิด


            เมื่อสั่งเสียเเล้ว ท้าวก็ตัดหัวตนออกบูชาธรรมบาล ธิดาองค์โตนามว่า 


ทุงษะ จึงเอาพานมารองรับหัวพ่อไว้แห่แหนประทักษิณรอบเขาพระสุเมร เเล้ว


จึงนำไปประดิษฐานไว้ในพรหมโลก  แต่นั้นมาเมื่อครบรอบวันสงกรานต์  ธิดา


ทั้งเจ็ด จะผลัดเปลี่ยนเวียนกันนำหัวของเท้ากบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุปี


ละคร้ังสืบมา


     
           ตำนาน
          
    ตำนานหมายถึงเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคคล ปูชนียวัตถุหรือสถานที่สำคัญ ที่มาของประเพณีหรือพิธีกรรม
          ลักษณะตำนานเป็นเรื่องเหนือจริงหรือสัมพันธ์กับความเป็นจริง แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาบรรพชนและความเป็นมาของชนชาติ เช่น
          
         ความเชื่อคตินิยมเรื่องสิริ
          
     สิริหมายถึง มงคล สิ่งที่จะนำความโชคดี ความเจริญและความสุขมาให้ซ้อนกับคำว่ามงคล  ยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องสิริในเวลาเช้าจะอยู่ที่ใบหน้า เวลากลางวันจะอยู่ที่อกและเวลาเย็นจะอยู่ที่เท้า

        ความเชื่อเรื่องมีบุตรชายสืบตระกูล
   
     ความเชื่อของชาวมอญ รับมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์ ฮินดูว่า ถ้ามีบุตรชายจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ตนและวิญญาณบรรพบุรุษได้ ในสังคมโบราณเป็นสังคมเกษตรก็ต้องการแรงงานผู้ชายมาทำงานรักษาผืนนาและทรัพย์สมบัติอื่นให้ลูกหลานในภายหน้า
           
      ตำนานวันสงกรานต์วันขึ้นปีใหม่ไทย

          ในรอบ ๑ปีจะมี ๒ วัน ซึ่งจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฤดูได้ดีที่สุดคือ วันที่ ๒๑ มี.ค.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนตามลำดับ และวันที่ ๒๒ ก.ย.เป็นช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวตามลำดับ จึงได้กำหนดให้ปลายเดือนมีนาคมและต้นเดือนเมษายนเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับปฏิทินไทยตามคติมอญ
          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ จนในสมัยจอมพลป.พิบูลสงครามได้ถือเอาวันที่ ๑ มกราคมเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ตามตะวันตก
          คำว่า สงกรานต์มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าก้าวไปพร้อมกันคือวันที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง
          ไทยถือเอาวันที่ ๑๒ ก่อนวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสิ้นปี วันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกรานต์หรือวันปีใหม่ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาเป็นวันที่พระอาทิตย์ประทับในราศีเมษ  วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกขึ้นศักราชใหม่ ศักราชที่เปลี่ยนในช่วงสงกรานต์เราเรียกว่าจุลศักราช
          เมื่อถึงเทศกาลสงกรานต์จะมีประเพณีก่อพระเจดีย์ทราย เพราะเชื่อว่าทุกย่างก้าวที่เราออกจากวัดมักจะนำทรายติดเท้าออกนอกวันจึงต้องขนทรายเข้ามาในวัดอีกครั้งหนึ่ง 

ที่มา: http://nirat-m3.blogspot.com เรื่อง รู้ตำนานสืบสารวัฒนธรรม

บทที่ 5 เพลงนี้มีประวัติ

    
                            
                                   เพลงนี้มีประวัติ
                          
                           
                             "โอ้ละน้อ   ดวงเดือนเอย
                     
                        ข้อยมาเว้า        รักเจ้าสาวคำดวง
                 โอ้ดึกเเล้วหนอ    พี่ขอลาล่วง
                       อกพี่เป็นห่วง  รักเจ้าดวงเดือนเอย"
         
เพลงนี้มีประวัติ

              
 เพลง ลาวดวงเดือน อันเเสนไพเราะอ่อนหวานเพลงนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิชัยไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์
                เหตุที่ทำให้ทรงนิพนธ์เพลงลาวดวงเดือนขึ้นมีว่า ราวปี พ.ศ.๒๔๔๖
เมื่อมีพระชันษา ๒๑ ปี พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  ได้เสด็จขึ้นไป
นครเชียงใหม่   ได้พบรักกับเจ้าชมชื่น  ธิดาของเจ้าราชสัมพันธวงศ์กับ
เจ้าคำกล่าวกันว่าเป็นรักครั้งเเรกที่ไม่อาจทรงหักห้ามพระทัยได้
จึงทรงขอให้พระยานริศราชกิจ
                 พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์เข้าทรงานในกระทรวงเกษตราธิการ
ทรงรับผิดชอบการเลื้ยงไหม  เป็นเหตุให้ต้องเสด็จไปตรวจเยี่ยมศูนย์
การทำไหมในมณฑลต่าง
                  เพลงนี้ได้รับความนิยมตั้งเเต่เเรก  แต่หลังจากที่พระองค์
    เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงไทยอมตะ อันไพเราะจับใจคนไทยทั้งชาติมานานจนทุกวันนี้ และจะเป็นเพลงอมตะ คู่ชาติไทยสืบไป แต่เบื้องหลังของเพลงมีความเศร้าอันลึกซึ้งแอบแฝงอยู่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะได้ทราบ

ผู้ประพันธ์เพลงนี้ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม หรือพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ และเจ้าจอมมารดามงกุฎ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๔๒๕

พระองค์เจ้าชายเพ็ญ ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเมื่อเสด็จกลับมาแล้วทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ใน พ.ศ. ๒๔๕๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเสด็จกลับจากอังกฤษแล้ว ทรงโปรดให้มีวงปี่พาทย์วงหนึ่ง เรียกกันว่า วงพระองค์เพ็ญ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเล่นดนตรีได้หลายเครื่อง และยังทรงเป็นนักแต่งเพลงที่สามารถ พระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ในปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยที่ดนตรีไทย โดยเฉพาะปี่พาทย์ได้รับความนิยมแพร่หลาย ตามบ้านท่านผู้มีบรรดาศักดิ์ และวัดวาอาราม ต่างก็มีวงปี่พาทย์เป็นประจำกันมากมาย เจ้านายหลายพระองค์ก็มีวงปี่พาทย์ประจำวัง มีครูบาอาจารย์ไว้ฝึกสอนปรับปรุงคิดประกวดประขันกันอย่างเอาจริงเอาจัง เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ก็มีวง วังบูรพา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็มีวง วังบางขุนพรหม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารก็มีวงปี่พาทย์ชื่อว่า วงสมเด็จพระบรม และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ก็มีวงปี่พาทย์วงหนึ่งของพระองค์เรียกว่า วงพระองค์เพ็ญ ซึ่งแต่ลงวงล้วนแต่มีนักดนตรีที่มีฝีไม้ลายมือยอดเยี่ยมทัดเทียมกัน กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม นอกจากจะทรงสนพระทัยในวงปี่พาทย์ของพระองค์ เยี่ยงเจ้านายท่านอื่นๆแล้ว ยังทรงเป็นนักแต่งเพลงชั้นดี พระองค์หนึ่งด้วย ทรงคิดประดิษฐ์ทำนองเพลงใหม่ๆ แปลกๆอยู่เสมอ พระองค์ทรงโปรดท่วงทำนองลีลาของเพลง ลาวดำเนินทราย เป็นอันมาก เพราะเพลงนี้เป็นเพลงสำเนียงลาวอันอ่อนช้อยนุ่มนวล เห็นภาพพจน์บรรยายกาศของภูมิประเทศ และวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ

ใน พ.ศ. ๒๔๔๖ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษมาใหม่ ได้ทรงเสด็จขึ้นไปเที่ยวนครเชียงใหม่ อันเป็นนครแห่งศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาสมัยนั้น สมัยนั้นพระยานริศราชกิจเป็นข้าหลวงใหญ่อยู่ประจำมณฑลพายัพ ได้จัดการรับเสด็จต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงค์ อย่างสมพระเกียรติ โดยเจ้าหลวงอินทวโรรสสุริยะวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้จัดการรับเสด็จอย่างประเพณีชาวเหนือโดยแท้ โดยให้ประทับในคุ้มหลวงและเสวยพระกระยาหารแบบขันโตก มีการแสดงละครและดนตรีในคุ้มนี้ด้วย ในงานต้อนรับเสด็จครั้งนี้ เจ้าอินทวโรรสแลเเจ้าแม่ทิพยเนตรได้ชวนเชิญเจ้าพี่เจ้าน้อง และพระญาติวงศ์มาร่วมรับเสด็จโดยพร้อมเพียงกัน ในบรรดาพระญาติวงศ์เจ้านายเชียงใหม่ ปรากฏว่ามี เจ้าราชสัมพันธวงศ์และเจ้าหญิงคำย่น พร้อมด้วยธิดาองค์โต นามว่า เจ้าหญิงชมชื่น อายุเพิ่งย่างเข้า ๑๖ ปี มาร่วมในงานนี้ด้วย เล่ากันว่าเจ้าหญิงชมชื่นมีผิวพรรณผุดผ่องเป็นนวลใย ใบหน้าอิ่มเอิบเปล่งปลั่งดุจพระจันทร์วันเพ็ญ มีเลือดฝาดขึ้นบนใบหน้า จนแก้มเป็นสีชมพู เพราะผิวขาวประดุจงาช้างอยู่แล้ว อีกทั้งเจ้าหญิงชมชื่นเป็นกุลสตรีที่เรียบร้อยอ่อนหวานน่ารัก เจรจาด้วยกระแสเสียงอันไพเราะ ด้วยความงามอันน่าพิศวงประกอบกับความน่ารักนุ่มนวลละมุนละไมจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

พระองค์เจ้าเพ็ญ พัฒนพงศ์ เจ้าชายหนุ่มอายุ ๒๑ ปี บังเกิดความสนพระทัยในดรุณีแน่งน้อย อายุ ๑๖ ปีนี้มาก กล่าวกันว่า พระองค์เมื่อได้เห็นเจ้าหญิงชมชื่นก็ถึงกับทรงตะลึง ในความงามอันน่าพิศวงจนเกิดความพิสมัยขึ้นในพระทัยเหมือนกับชายหนุ่มพบคนรักครั้งแรก!!


ในวันต่อมา พระยานิรศราชกิจ ข้าหลวงมณฑลพายัพ เป็นผู้นำพระองค์ไปเยี่ยมเจ้าราชสัมพันธวงศ์ถึงคุ้มหน้าวัดบ้านปิง เจ้าหญิงชมชื่นได้มีโอกาสต้อนรับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเรียนนอกผู้สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษพระองค์นี้หลายครั้งหลายหน

นานวันเข้าพระองค์เจ้าชายเพ็ญก็ยิ่งเกิดความปฏิพัทธ์หลงใหลในเจ้าหญิงชมชื่นเป็นยิ่งนัก พระองค์จึงโปรดให้ข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพเป็นเฒ่าแก่เจรจาสู่ขอเจ้าหญิงชมชื่น ให้เป็นหม่อมของพระองค์

แต่การเจรจาสู่ขอกลับได้รับการทัดทานจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ โดขอผัดผ่อนให้ เจ้าหญิงชมชื่นอายุครบ ๑๘ ปี เสียก่อน และตามขนบธรรมเนีมประเพณีของราชสกุลนั้น พระเจ้าลูกเธอพระองค์ใดจะทำการอภิเษกสมรส จะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระมหากษัตริย์เสียก่อน เพื่อได้รับเป็นสะใภ้หลวงได้รับยศและตำแหน่งตามฐานะ หากถวายเจ้าหญิงชมชื่นให้ในตอนนี้ เจ้าหญิงก็จะตกอยู่ในฐานะภรรยาน้อยหรือนางบำเรอเท่านั้น

เฒ่าแก่ข้าหลวงใหญ่ยอมจำนนต่อเหตุผลของเจ้าสัมพันธวงศ์ นำความผิดหวังกลับมาทูลให้พระองค์ชายทราบ พระองค์ชายก็ได้รับความผิดหวังครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เพราะเมื่อจะมีรักครั้งแรกทั้งทีก็มีกรรมบันดาลขัดขวางไม่ให้รักสมหวังไม่ได้เชยชมสมใจ ความทุกข์โศกใดจะเทียมเทียบเปรียบปาน

เมื่อผิดหวังก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพด้วยความร้าวรานพระทัย คงปล่อยให้เชียงใหม่เป็นนครแห่งความรักและความหลังของพระองค์

ครั้นถึงกรุงเทพ เรื่องการสู่ขอเจ้าหญิงเมืองเหนือได้แพร่สะพัดไปในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพารผู้ใกล้ชิด เจ้านาชั้นผู้ใหญ่หลาพระองค์ทรงทัดทานอย่างหนักหน่วง โดยอ้างเหตุผลต่างต่าง นานา 

เป็นอันว่า ความรักของพระองค์ประสบความผิดหวังอย่างสิ้นเชิงทุกประการ

คราใดสายลมเหนือพัดมา... พระองค์ชายของเราก็แสนเศร้ารันทดใจครานั้น... เศร้าขึ้นมาคราใด พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ก็เสด็จไปฟังดนตรีตามวังเจ้านายต่างๆ ทั้ง วังสมเด็จ วังบูรพา และวังบางขุนพรหม ทุกครั้งที่ทรงสดับดนตรีและทรงดนตรีพระองค์จะโปรดเพลง ลาวเจริญศรี เป็นพิเศษ เพราะเป็นเพลงที่นอกจากจะมีความไพเราะอ่อนหวานแล้วยังมีบทร้องที่ว่า

อายุเยาวเรศรุ่นเจริญศรี
พระเพื่อนพี่แพงน้องสองสมร
งามทรงงามองค์อ่อนซ้อน
ดังอัปสรหยาดฟ้าลงมาเอย



บทร้องนี้ ทำให้พระองค์หวนรำลึกถึงโฉมอันงามพิลาส ของเจ้าหญิงชมชื่นผู้เป็นที่รัก พระองค์จึงทรงระบายความรักความอาลัยของพระองค์ ลงในพระนิพนธ์บทร้อง ลาวดวงเดือน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงผู้เป็นเจ้าหัวใจ ดังนี้...

โอ้ละหนอ... ดวงเดือนเอย ข้อยมาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุมภ์ ข้อยนี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย เนื้อหอมทรามเชย....เอ๋ย..เราละหนอ

โอ้ละหนอ นวลตาเอย ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรมต้องจำจากไป อกอาลัยเจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริดร้างเวหา ข้อยเบิ่งดูฟ้า (ละหนอ) เห็นมืดมน
พี่จะทนทุกข์...ทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย
ถึงจะหวาน เสนาะ หวานเพราะกระไรเลย บ่เหมือนทรามเชย...เราละหนอ...


นี่เอง เป็นเครื่องผ่อนคลายอารมณ์เศร้าของพระองค์ เป็นอนุสรณ์ เตือนจิตให้สะท้อนรัญจวนหวนคำนึงรำลึกถึงโฉมงามของเจ้าหญิง-ความรัก-ความหลัง คราใดที่ทรงรำลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นพระองค์ก็ทรงใช้ดนตรีเป็นเครื่องปลอบหฤทัยให้คลายเศร้า ถ้าไม่ทรงดนตรีเองก็ให้มหาดเล็กข้าหลวงเล่นให้ฟังด้วย ลาวเจริญศรี และลาวดวงเดือน ซึ่งขาดไม่ได้ตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน

กรมหมื่นพิชัมหินทโรดม ทรงมีพระชนมายุน้อยมาก เนื่องจากทรงมีอารมณ์อ่อนไหวละเอียดอ่อน และประกอบกับพระวรกายไม่ค่อยบูรณ์แข็งแรงเท่าไรนัก อีกทั้งทรงหมกมุ่นกับหน้าที่การงาน เพื่อจะให้ลืมความหลังอันแสนเศร้าของพระองค์ที่ฝังใจอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระชนม์ชีพของพระองค์สั้นจนเกินไป พระองค์ด่วนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระชันษา ๒๘ ปีเท่านั้น

เพลงลาวดวงเดือน เพลงนี้ เป็นหลักฐานปรากฏผลงานการแต่งเพลงของพระองค์เพียงเพลงเดียวเท่านั้น เพราะไม่สามารถสืบทราบได้ว่าพระองค์ทรงแต่งเพลงใดขึ้นมาอีกหรือไม่ แม้ว่าจะทรงแต่งเพียงเพลงเดียว ลาวดวงเดือน ก็ดูเหมือนจะเป็นเพลงที่พระองค์ทรงประพันธ์ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ ความรัก-ความหลัง ของพระองค์ทั้งหมดลงในเพลงนี้

เพลงลาวดวงเดือน เป็นเพลงอันประดุจอนุสรณ์แห่งความรักอมตะระหว่าง... พระองค์เจ้าชายเพ็ญกับเจ้าหญิงชมชื่นผู้เลอโฉม และจะเป็นเพลงรักหวานซาบซึ้งตรึงใจ อยู่ในห้วงหัวใจคนไทยทั้งชาติต่อไปอีกนานเท่านาน.


ข้อคิดจากเรื่อง


   เรื่องที่อ่านมีข้อคิดหลายประการ  ดังนี้

๑.ความประทับใจซาบซิ่งกับคนรัก  อารมณ์เศร้าว้าเหว่
๒.ผู้ชื่นชมผลงานศิลปะมิได้จำกัดแต่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมเดียว
๓.การนำผลงานที่มีอยู่เดิมมาดัดเเปลงเสริมแต่งทำให้มีผลงานสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น
๔.การศึกษาชีวประวัติของศิลปินจะทำให้ทราบที่มาของผลงานสิลปะ

ที่มา:http://nawinta-m3.blogspot.com เรื่อง เพลงนี้มีประวัติ

บทที่ 10 คิดดีก็ได้บุญ


คิดดีก็ได้บุญ



ของที่เราจะใส่บาตร    ต้องเป็นของดี
ของที่เหมาะสมจะถวายพระผู้ทรงศีล
ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์   อยู่ในศีลในธรรม
ก็ต้องถวายของที่บริสุทธิ์เหมาะสมกับท่าน

ใส่บาตร
      นับตั้งแต่พ่อไปราชการชายแดน แม่ก็ต้องตื่นแต่เช้ามืดทุกวันเพื่อเตรียมอาหารใส่บาท ปรกติแม่จะเป็นคนเอะอะโวยวาย แต่มีอยู่ขณะเดียวที่ฉันเห็นว่าคุณแม่นิ่งที่สุด ก็คือกระบวนการที่แม่ใส่บาตรทั้งหมด ที่ฉันรู้ก็เพราะว่าวันนี้เป็นวันเกิดของฉัน แม่เรียกให้ฉันตื่นมาใส่บาตรด้วย แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืนว่า
      วันเกิด ใส่บาตรเสียหน่อย จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต” แม่ปลุกฉันด้วยน้ำเสียงเบาๆ
    ไก่ๆ ตื่นเถอะลูก ไปช่วยแม่เตรียมของใส่บาตร” ฉันร้องฮื้อแต่พอนึกได้ก็รีบลุกขึ้น
      ยามเช้าดูเป็นเวลาที่แม่กว่ายามเย็น แม่ทำอะไรเงียบๆช้าๆ เวลาพูดก็จะเบาเสียง คล้ายกับว่าแม่เกรงใจยามเช้ามากกว่ายามกลางคืน บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้น ยามเช้าจึงเงียบสงบ นานๆจะได้ยินเสียงสวดของคนมุสลิมดังมาแต่ไกล
    พอเข้ามาในครัว แม่ก็เรียกฉันไปหุงข้าว ข้อนี้ฉันทำได้สบายมาก เพราะเป็นงานประจำของฉัน แค่ซาวข้าว ใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม้อเสียบปลั๊กแล้วกดปุ่ม  จากนั้นก็มาช่วยแม่ทำกับข้าว แม่บอกว่า จะทำอาหารง่ายๆ คือแกงจืดเต้าหู้หมูสับ  แม่เอาหมูสับถุงเล็กๆที่แยกเตรียมไว้ออกจากตู้เย็น ให้ฉันตำกระเทียมพริกไทยและรากผักชีเข้าด้วยกัน แล้วเอามาคลุกเคล้ากับหมู เหยาะน้ำปลาเล็กน้อยเตรียมไว้แล้วก็เรียกให้ฉันหั่นต้นหอม ผักชี ฉันทำท่าจะซอย เสียงแม่ดุเบาๆ
อย่าซอยหั่นท่อนละนิ้ว ละเอียดนักจะเห็นไปเป็นผักอะไรเล่า   พอน้ำที่ตั้งไว้บนเตาเดือด แม่ก็เอาหมูบดปั้นเป็นก้อนๆใส่  ฉันชะโงกดู อยากจะเป็นคนทาตอนนี้เสียเอง แต่แม่คงกลัวออกมาไม่งาม จึงไม่ให้ฉันปั้นหมู  พอน้ำเดือดอีกครั้ง แม่ก็เอาเต้าหู้หลอด หั่นเป็นสี่ท่อนใส่ลงไป เอาสาหร่ายเผาไฟพอหอมใส่ลงไปอีก พอเดือดทั้งหมด แม่ก็ใส่น้ำปลาแล้วเอาต้นหอมใส่ลงไป แล้วปิดไฟ
ใส่ต้นหอมแล้วปิดไฟเลยนะ มันจะได้เขียวน่ากิน
พอแม่ทำแกงจืดเสร็จ รอซักพักหนึ่ง แม่ก็ตักใส่ถุงพลาสติกรัดยางจนแน่น แม่มีวิธีทำถุงให้พองกลม ซึ่งฉันทำไม่ได้ ทำไมต้องทำให้พองล่ะคะ
เป็นกันชนไงลูก” แม่ว่า เวลาคนอื่นมาเบียด จะได้ไม่เสียหาย
พอตักกับข้าวเสร็จ แม่ก็จะเอามะม่วงเขียวเสวยมาปลอกเปลือก แล้วก็หั่นใส่ถุงอีกชุดหนึ่ง คราวนี้แม่ไม่ทำถุงพองๆแล้ว แต่กลับทำปากเปิดแบบไม่รัดยางทั้งหมด
ทำไมไม่ทำพองๆล่ะแม่
ผลไม้นี่ลูก รัดแน่นเดี๋ยวมันเสียหมด
เสียยังไงล่ะคะ” ฉันสงสัย
มันอบไป ถ้าอยู่ในถุงพลาสติก ผลไม้บางอย่างมีน้ำตาลมากจะอับแล้วก็มีกลิ่นเหม็น อย่างสับปะรดหรือมะละกอหรือแม้แต่มะม่วง เราต้องปล่อยให้ลมเข้าบ้าง จะได้ไม่เสีย
เตรีมกับข้าวและผลไม้เสร็จแล้ว แม่ก็ตักข้าวใส่ถ้วยเล็กๆ สอนฉันด้วยว่า
ข้าวหรือกับข้าวใส่บาตร ต้องตักก่อนคนอื่นนะจะตักกินก่อนไม่ได้ ถ้าจะกินก่อนต้องแบ่งใส่บาตรไว้ก่อน
ทำไมล่ะคะ” ฉันสงสัยอีก
ของที่เราจะใส่บาตร ต้องเป็นของดี ของที่เหมาะสมจะถวาย พระผู้ทรงศีล ท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่ในศีลในธรรม ก็ต้องถวายของที่บริสุทธิ์เหมาะสมกับท่าน
ถึงตอนนี้ฉันจะคันปากยิบๆ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะพูด
แม่จ๋าแล้วถ้าเราใส่บาตรกับพระไม่ดีล่ะ
แม่นิ่งไปอึดใจใหญ่ ก่อนหันมาถามฉันด้วยน้ำเสียงเรียบๆ
ทำไมหนูถามอย่างนั้นล่ะ หนูเห็นพระไม่ดีมาจากไหนหรือ
อ้าวก็บ่อยไป วันก่อนหนูยังเห็นพระมาขอตังค์คุณยายข้างบ้านเลย
โอ๊ย…” แม่ร้อง นั่นไม่ใช่พระจริงหรอก พระปลอม
นั่นสิแม่ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า พระรูปไหนจริงพระรูปไหนปลอม เราจะได้ใส่บาตรได้ถูก
หลวงตาที่แม่เคยไปกราบ ท่านบอกแม่นะว่า ถ้าจะใส่บาตรให้ใส่ไปเลย นึกเสียว่าทำบุญทำทานด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ ทำเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา เพื่อให้ความเป็นพระสงฆ์ยังดำรงอยู่ได้ในสังคมปัจจุบัน เพราะถ้าไม่มีพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้สืบต่อศาสนา คิดเสียอย่างนี้ตั้งแต่แรกก็จะได้ไม่ขุ่นมัว ใจก็เป็นกุศล ถ้าเป็นพระจริงถือว่าได้ทำบุญ ถ้าเป็นพระปลอมถือว่าได้ทำทาน ให้แล้วให้เลย เขาจะเป็นใคร อย่างไร ไม่ต้องสนใจ สนใจการกระทำของตนเอง ไม่สนใจการกระทำของคนอื่น
ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ แม่พูดได้ยาวและอารมณ์เย็น ผิดไปจากแม่ที่เคยส่งเสียงปาวๆ ทะเลาะกับน้องชาย
แม่คิดอย่างนี้จริงๆหรือ
คำถามของฉันทำให้แม่ยิ้ม แม่พยายามจ๊ะ
เช้าวันนั้น แม่บอกฉันให้ไปใส่บาตรพระที่แม่มั่นใจว่าไม่ปลอมเพราะมาจากวัดข้างหมู่บ้าน เดินมาเนิบช้าสองรูป แม่กระซิบบอกฉันว่า
อธิษฐานเสียก่อนนะ
ฉันยกถาดทั้งถาดขึ้นเหนือหัวแล้วอธิษฐาน เป็นคำอธิษฐานที่แม่ไม่คาดคิด และไม่เกี่ยวกับฉันมากนัก ฉันอธิษฐานขอให้พ่อปลอดภัยกลับมา
จีวรสีเหลืองมาหยุดตรงหน้า ฉันลุกขึ้นใส่บาตร แม่ช่วยหยิบผลไม้ใส่ตาม เสร็จเรียบร้อย แม่กระตุกเสื้อฉันให้นั่งลงไหว้ พระท่านเดินไปแล้ว แสงเช้าเริ่มส่องโลก สีเหลืองที่มัวหม่นดูสว่างมากขึ้น ยิ่งไกลออกไปยิ่งเหลืองสว่าง
ขอให้ลูกพบแต่สิ่งดีๆ ในชีวิตลูกนะ
แม่เดินมากระซิบบอก ขณะเดินเข้กาบ้าน
ฉันรู้สึกได้ถึงความสงบเงียบและเยือกเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน และรู้ด้วยว่า อีกไม่นานนัก พอน้องชายของฉันตื่นหรือถูกปลุกให้ตื่น ความสงบเงียบและความเยือกเย็นนี้จะหายไป  และชีวิตประจำวันอันโกลาหลอลหม่านของเราก็จะกลับมาอีก

ข้อคิดจากเรื่อง
เรื่อง ใส่บาตร ของ ชมัยภร บางคมบาง (แสงกระจ่าง) ที่อ่านจบไปนี้ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งสารแก่ผู้อ่านว่า ทุกคนควรมีเหตุผลอธิบายการกระทำทุกอย่างในชีวิต แม่จะเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เข้าใจ หากมีความตั้งใจอันดีอันบริสุทธิ์เป็นจุดยึดมั่น ก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับการกระทำนั้นแล้ว
ผู้เขียนเรื่องนี้ สร้างตัวละครสำคัญเพียง ๒ ตัวและผูกเหตุการณ์ไว้เพียงเหตุการณ์เดียว เพื่อนำความคิดผู้อ่านไปยังประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอด เรื่อง ใส่บาตร ไม่ด้ายเน้นความสำคัญของโครงเรื่องที่ต้องมีการหักมุมดังเช่นเรื่องสั้นเรื่องอื่นๆ แต่ผู้เขียนสร้างบทสนทนาและการกระทำของตัวละครเพื่อมุ่งให้ผู้อ่านสะดุดใจและได้ข้อคิด ผู้เขียนมิได้มุ้งที่จะพรรณนาลักษณะบุกคลิกตัวละคร ไม่ให้แม้แต่ชื่อของตัวละครที่เป็นแม่และปรากฏชื่อของลูกว่า “ไก่”เพียงครั้งเดียวแต่ใช้คำเรียกแทนว่าฉัน แม่ ลูก น้อง โดยเฉพาะแม่และลูกจะปรากฏอยู่ตลอดเรื่อง ที่เป็นอย่างนี้เพราะผู้เขียนแสดงมุมมองของคน๒ รุ่นที่มักจะมองโลกต่างกัน และทั้ง๒ฝ่ายฟังความคิดและเห๖ผลของอีกผ่ายหนึ่งก็จะทำให้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุกและเข้าใจกันมากขึ้น  ดังเช่นตอนที่ลูกถามแม่ว่า ถ้าเราใส่บาตรกับไม่ดี  เราจะยังคงตั้งใจทำสิ่งที่ดีกับคนไม่ดีเช่นนั้นหรือ คำตอบของแม่ทำให้คนอ่านเข้าใจว่า การทำบางอย่างที่ดูเข้าใจได้ยากและไม่มีเหตุผลของคนสูงวัยนั้น เมื่อพิจารแล้วจะพบว่ามีเหตุผลกำกับอยู่เสมอ อยู่ที่คนรุ่นใหม่จะถามและต้องการรู้หรือไม่เท่านั้น
นอกจากนี้การทำบางอย่างที่ไม่สำคัญ เช่น การทำแกงจืดหมูสับ การรัดปากถุงพลาสติก ซึ่งต้องมีขั้นตอนตามลำดับนั้น ผู้เขียนตั้งใจใส่เข้ามาในเรื่องเพื่อแสดงให้เห็นว่า  การกระทำบางประการมิได้เป็นเพราะโบราณทำกันมาเช่นนั้น หากแต่มีเหตุผลเพื่อให้สิ่งที่ทำนั้นออกมาดี ถ้าไม่มีคนอธิบายบางครั้งเด็กรุ่นใหม่ก็อาจไม่เข้าใจ ผู้เขียนต้องการโยงไปสู่วิถีการดำเนินชีวิตในปัจจุบันว่า ทุกคนต้องมีเหตุผลของตัวเองกำกับ เพื่ออธิบายได้ว่า เหตุใดจึงทำเช่นนั้นทั้งๆที่บางเหตุผลก็อาจเข้าใจได้ยากสำหรับบุคคลอื่น

งานเขียนสร้างสรรค์
ลักษณะของเรื่องที่อ่านนี้ เป็นงานเขียนที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ คือ เป็นงานเขียนในลักษณะความคิดริเริ่ม  โดยผู้เขียนใช้ประสบการณ์ จิตนาการและทักษะทางภาษาของตนเองในการเขียน เพื่อแสดงความคิด ความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆที่พบเห็น ไม่ใช่การเขียนข่าว งานวิชาการ รายงานการวิจัย ผู้อ่านต้องใช้องค์ประกอบทั้งหมดในงานเขียนนั้นช่วยวิเคราะห์และตีความเพื่อทำความเข้าใจ
เรื่องใส่บาตร  นี้ผู้เขียนมิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายวิธีทำแกงจืด วิธีรัดปากถุงหรือวิธีใส่บาตร แต่ผู้เขียนกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อแสดงวัตถุประสงค์ที่ซ่อนไว้ในเรื่อง ผู้อ่านต้องตีความและทำความเข้าใจจากเรื่องงนี้เอง  การพูดคุยของแม่กับลูกสาวในขณะที่ทำกับข้าวใส่บาตรนั้น  ผู้เขียนประสงค์จะแสดงความแตกต่างทางความคิดของคน ๒ รุ่นในสังคม นอกจากนั้นการอธิบายวิธีรัดปากถุงอย่างละเอียด อาจนำมาตีความการเลี้ยงเด็กวัยรุ่นได้อีกด้วย
อนึ่ง คำว่า ใส่บาตร เป็นคำลำลองมีความหมายเหมือนคำทางการว่าตักบาตร ผู้เขียนเลือกใช้คำลำลองเป็นชื่อเรื่อง และใช้คำเดียวกันนี้ตลอดเรื่อง เพื่อให้ภาษาที่ใช้เข้ากับความสำพันธ์ของตัวละครในเรื่องซึ่งสนิทสนมกันเป็นแม่ลูกกัน

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถทางปัญญาที่สามารถคิดได้กว้างไกล หลายทิศ หลายทาง คิดดัดแปรงปรุงแต่ง ผสมผสานความคิดเดิมเกิดเป็นความคิดใหม่ อันนำไปสู่การค้นพบที่แปลกใหม่ที่มีประโยชน์ต่อสังคม ลักษณะความคิดสร้างสรรค์ อาจอธิบายความคิดสร้างสรรค์ อาจอธิบายความคิดสร้างสรรค์ได้หลายลักษณะ ดังนี้
๑.      การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น ผลงานการประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าของโทมัส อัลวา เอดิสัน นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวอเมริกัน
๒.    ความคิดอเนกนัย เป็นการคิดกว้าง คิดไกล หลายแง่หลายมุม ลักษณะความคิดเช่นนี้จะนำไปสู่การคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งการค้นพบวิธีแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ นอกจากนี้ความคิดอเนกนัยยังเน้นด้านปริมาณความคิด คือยิ่งคิดปริมาณก็ยิ่งดี หากคิดได้มากประเภทและมีรายละเอียดด้วย ก็ยิ่งทำให้ความคิดอเนกนัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๓.     จิตนาการ เป็นลักษณะสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดถึงสิ่งที่ยังไม่เกิด หรือดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้ อดีตที่มนุษย์ฝันอยากจะบินเหมือนนก ซึ่งดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ก็กลายเป็นความจริงได้ในเวลาต่อมา
๔.     ความสามารถที่จะมองเห็นและมีปฏิกิริยาอย่างรวดเร็ว เช่น คนที่มองเห็นความสวยงามของทะเล เกิดความชื่นชม มีความรู้สึกตอบสนองเขียนเป็นกลอนได้ ความคิดสร้างสรรค์ มิใช่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่พัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในตัวทุกคนเพียงให้เรากล้าที่จะคิด คิดแล้วทดลองทำ ทำแล้วนำมาคิดใหม่ จากความคิดหนึ่งสู่อีกความคิดหนึ่ง ความคิดสร้างก็จะเกิดขึ้นในที่สุด

องค์ประกอบของการเขียนสร้างสรรค์
การเขียนสร้างสรรค์อาจมีเนื้อหาและรูปแบบต่างๆ  ตามความคิดของผู้เขียน อาจใช้รูปแบบหรือฉันทลักษณ์ที่มีการกำหนดไว้เป็นที่รู้จักทั่วไป  หรืออาจมีการดัดแปรง หรือสร้างสรรค์ใหม่ตามความประสงค์ของผู้เขียน องค์ประกอบสร้างสรรค์ที่มักพบในการเขียนมีดังนี้
     เนื้อหา
     การเขียนสร้างสรรค์นั้นน่าสนใจตรงที่อาจเป็นเรื่องที่นำมาจากชีวิตจริงหรือประสบการณ์ของผู้เขียน  เป็นเรื่องที่ผู้เขียนแต่งขึ้น หรือเป็นทั้งเรื่อจริงและเรื่องแต่งรวมกันอยู่ด้วย เพื่อนำไปสู่จุดมุงหมายของการนำเสนอความคิดที่ซ่อนไว้ในเรื่องราวเหล่านั้น  ผู้เขียนจะต้องใช้ประโยชน์จากเรื่องที่นำมาแฝงไว้อย่างเต็มที่ มิใช่สร้างขึ้นเพียงลอยๆ 
     ประโยคความรวม
     เรื่องใส่บาตร  มีประโยคกรรมปรากฏอยู่ เช่น
     ฉันรู้สึกได้ถึงความสงบเงียบและเยือกเย็นที่แผ่ซ่านอยู่ภายใน และรู้ด้วยว่า อีกไม่นานนัก พอน้องชายของฉันตื่นหรือถูกปลุกให้ตื่น ความสงบเงียบและความเยือกเย็นนี้จะหายไป  และชีวิตประจำวันอันโกลาหลอลหม่านของเราก็จะกลับมาอีก
ประโยคในภาษาไทยมีทั้งประโยคเน้นประประธานและประโยคเน้นกรรม
ประโยคเน้นประธานคือประโยคที่ขึ้นต้นด้วยประธาน  มักใช้โครงสร้างประธาน-กริยา เช่น แมวร้อง รถแล่น  หรือโครงสร้าง                 ประธาน-กริยา-กรรม เช่น ปลาฮุบเหยื่อ  พ่อปลูกต้นไม้
ส่วนประโยคเน้นกรรมคือประโยคขึ้นต้นด้วยกรรม จะอยู่ในโครงสร้าง กรรม-ประธาน-กริยา เช่น ข้าวจานนี้ฉันยังไม่ได้กินเลย  หรือโครงสร้างกรรม-กริยา เช่น ข้าวจานนี้ยังไม่ได้กิน อาจมีคำว่า
ประโยคเน้นกรรมอาจมีคำว่า ถูก ปรากฏอยู่หลังกกรม เช่น  ข้าวถูกแมลงวันตอม นักเรียนถูกครูตำหนิ เสื้อถูกขโมย บ้านถูกรื้อ ประโยคที่มีคำว่าถูกอยู่ด้วยมักมีความหมายพ่วงว่า “ไม่ดี ไม่น่าจะได้รับ” ติดอยู่ด้วยดังจะเห็นว่า ผู้เขียนใช้ตื่นหรือถูกปลุกให้ตื่น เพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันคือตื่นหมายถึง ตื่นเองเองไม่ต้องปลุก ส่วนถูกปลุกให้ตื่นหมายถึง ตื่นเพราะมีคนมาปลุกมิได้ตื่นเอง และที่สำคัญ ถูกปลุกให้ตื่น ยังมีความหมายพ่วงติดว่า ยังไม่อยากตื่นในเวลาที่ต้องตื่นนั้น และต้องมีผู้อื่นมาช่วยปลุกให้ตื่น

คำบุพบท
พิจารณาประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
แม่บอกตั้งแต่กลางคืนว่า วันเกิด ใส่บาตรเสียหน่อย จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต
ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
ฉันรู้สึกถึงความสงบเงียบ และความเยือกเย็นที่ยังแผ่ซานอยู่ภายใน
วันนี้เป็นวันเกิดของฉัน
คำว่า ตั้งแต่, แก่, ด้วย, ถึง, ของ ในประโยคบ้างต้นนี้ คือ คำบุพบท คำบุพบท คือ คำที่อยู่หน้านาม หรือ คำสรรพนามและรวมกับคำนามแล้วกลายเป็นบุพบทวลี มักทำหน้าที่ขยายข้อความ หรือบอกรายละเอียดเพิ่มเติมให้แก่คำที่อยู่ข้างหน้านั้น
แม่บอกตั้งแต่ตอนกลางคืน
ตั้งแต่ เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ตอนกลางคืน เพื่อขยายความของกิริยา บอกให้ทราบว่า บอกเมื่อไร
                ใส่บาตรเสียหน่อย จะได้เป็นมงคลแก่ชีวิต
แก่ เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ชีวิต เพื่อขยายความของกิริยาวลี เป็นมงคลให้ทราบว่ามงคลนั้นเกี่ยวกับอะไร
ฉันมองหน้าแม่ด้วยความแปลกใจ
ด้วย เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ความแปลกใจ เพื่อขยายความของกิริยา มองเพื่อให้ทราบว่ามองด้วยอาการใด
ฉันรู้สึกถึงความสงบเงียบ
ถึง เป็นคำบุพบทนำน้าคำนาม ความสงบเงียบ เพื่อขยายความของกิริยา รู้สึกให้ทราบว่าสิ่งที่รู้สึกคืออะไร
วันนี้เป็นวันเกิดของฉัน
ของ เป็นคำบุพบทนำน้าคำสรรพนาม ฉัน เพื่อให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของวันเกิด

คำเชื่อม
                ในประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ คำที่พิมพ์ตัวคำ คือคำเชื่อม เช่น
                บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้น ยามเช้าจึงสงบ
                พอเข้ามาในครัวแม้ก็เรียกฉันไปหุงข้าว ข้อนี้สบายมากเพราะเป็นงานทำประจำของฉัน แค่ซาวข้าวใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม่อ เสียบปลักแล้วกดปุ่ม
                คำว่า ดังนั้น.....จึง, พอ....ก็, เพราะ....แล้วก็, แล้ว ในประโยคข้างต้นคือคำเชื่อม คำเชื่อมมีหลายชนิดที่จะกล่าวถึงในข้อนี้คือ คำเชื่อมที่ตามด้วยกริยาวลีหรือประโยคย่อย คำเชื่อมแต่ละคำใช้เชื่อมและบอกความสัมพันธ์ของกิริยาวลีหรือประโยคที่เชื่อมแตกต่างกัน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                บ้านของเราอยู่ในซอยลึก ดังนั้น ยามเช้าจึงสงบ
                ดังนั้น...จึง เป็นคำเชื่อมที่ใช้เชื่อมประโยคที่ตามมา คือ ยามเช้าสงบ เพื่อบอกผล ส่วนบ้านของเราอยู่ในซอยลึก เป็นประโยคบอกเหตุ
                                พอเข้ามาในครัวแม้ก็เรียกฉันไปหุงข้าว
                พอ เป็นคำเชื่อมที่ใช้เชื่อมประโยคที่ตามมา คือ (ฉัน) เข้ามาในครัวเพื่อบอกลำดับเหตุการณ์ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนและมีอีกเหตุการณ์หนึ่ง เกิดตามมาอย่างต่อเนื่อง คือเหตุการณ์แม่เรียกฉันไปหุงข้าว เหตุการณ์หลังมีคำเชื่อม ก็ อยู่ด้วย
                แค่ซาวข้าวใส่น้ำแล้วก็ตั้งในหม้อ
                แล้วก็ เป็นคำเชื่อมประโยค ๓ ประโยค คือ แค่ซาว ประโยคหนึ่ง ข้าวใส่น้ำ ประโยคหนึ่ง ตั้งในหม่อ อีกประโยคหนึ่ง เพื่อบอกลำดับเหตุการณ์๓เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ แค่ซาวข้าว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ใส่น้ำ เกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา ตั้งในหม่อเป็นลำดับสุดท้าย

คำอุทาน
ในเรื่องที่อ่านมีคำอุทานอยู่หลายคำ  เช่น
       อ้าวก็บ่อยไป วันก่อนหนูยังเห็นพระมาขอตังค์คุณยายข้างบ้านเลย
        โอ๊ย…” แม่ร้อง นั่นไม่ใช่พระจริงหรอก พระปลอม
ผู้เขียนใช้คำอุทานแสดงความรู้สึกของตัวละคร อ้าว  แสดงความแปลกใจหรือการโต้แย้ง  โอ๊ย แสดงความไม่เห็นด้วย ทำให้ไม่ต้องใช้คำอธิบายยืดยาว ดังนั้นการเลือกใช้คำอุทานที่เหมาะสมในการเขียน  จะช่วยสื่อความหมายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้ผู้อ่านได้รับอัฐรสเพิ่มมากขึ้นด้วย




ที่มา:http://khamchira.blogspot.com เรื่องคิดดีก็ได้บุญ